ขั้นตอนการตรวจรับรอง GAP

ขั้นตอนการทำงาน

ขั้นตอนที่ 1

ยื่นคำขอ

เกษตรกร นิติบุคคล หรือกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมในการรับการตรวจประเมินการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช ของกรมวิชาการเกษตร หรือปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร ยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช (สมพ.) เจ้าหน้าที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร (สวพ.) หรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานเครือข่ายสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัด

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช (F-1)
  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช สำหรับกลุ่ม (F-2)
  • แบบคำขอต่ออายุใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช (F-3)
  • แบบคำขอต่ออายุใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช สำหรับกลุ่ม (F-4)
  • แบบคำขอใบแทน หรือขอแก้ไขข้อมูลในใบรับรอง (F-5)
  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช การคัดบรรจุ และการแปรรูปพืชอินทรีย์ สำหรับผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ (F-57)
  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช การคัดบรรจุ และการแปรรูปพืชอินทรีย์ กรณีกลุ่ม/โครงการ/องค์กร (F-59)
  • แบบสอบถามข้อมูลด้านการจัดการผลิตพืชอินทรีย์ (F-61)
  • แบบสอบถามข้อมูลด้านการจัดการคัดบรรจุ และการแปรรูปพืชอินทรีย์ (F-66)
  • แบบตรวจสอบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช การคัดบรรจุ และการแปรรูปพืชอินทรีย์ (F-60)

ขั้นตอนที่ 2

รับคำขอและตรวจสอบคำข้อ

เจ้าหน้าที่ของ สำนัก/ศูนย์/กลุ่ม/ส่วน (ผู้ได้รับรมอบหมาย) ตรวจสอบความถูกต้องของคำขอ ขอบข่าย และความครบถ้วนของเอกสารประกอบคำขอ รวมทั้งตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ กรณีหน่วยงานเครือข่ายของ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต รับคำขอให้หน่วยงานเครือข่ายจัดส่งสรุปผลการรับคำขอประจำเดือนโดยแจ้งรายชื่อเกษตรกร นิติบุคคล หรือกลุ่มเกษตรกรขอบข่าย และจำนวนคำขอให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตทราบกรณีที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรรับคำขอ เมื่อได้พิจารณาที่ตั้งของฟาร์มแล้วพบว่าอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใด ให้ดำเนินการส่งคำขอ และเอกสารประกอบคำขอทั้งหมดให้หน่วยงานนั้น เพื่อดำเนินการต่อไป กรณีที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต หรือหน่วยงานเครือข่ายของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตรับคำของรับรองผลิตผล และผลิตภัณฑ์อินทรีย์สำหรับผู้นำเข้า หากไม่สามารถดำเนินการตรวจประเมินได้ ให้ส่งคำขอให้สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เพื่อวางแผนการตรวจประเมินต่อไป

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช (F-1)
  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช สำหรับกลุ่ม (F-2)
  • แบบคำขอต่ออายุใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช (F-3)
  • แบบคำขอต่ออายุใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช สำหรับกลุ่ม (F-4)
  • แบบคำขอใบแทน หรือขอแก้ไขข้อมูลในใบรับรอง (F-5)
  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช การคัดบรรจุ และการแปรรูปพืชอินทรีย์ สำหรับผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ (F-57)
  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช การคัดบรรจุ และการแปรรูปพืชอินทรีย์ กรณีกลุ่ม/โครงการ/องค์กร (F-59)
  • แบบสอบถามข้อมูลด้านการจัดการผลิตพืชอินทรีย์ (F-61)
  • แบบสอบถามข้อมูลด้านการจัดการคัดบรรจุ และการแปรรูปพืชอินทรีย์ (F-66)
  • แบบตรวจสอบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช การคัดบรรจุ และการแปรรูปพืชอินทรีย์ (F-60)

ขั้นตอนที่ 3

คัดเลือกคณะผู้ตรวจประเมินและวางแผนการตรวจประเมิน

ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต/ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร/ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช คัดเลือกคณะผู้ตรวจประเมิน และมอบหมายให้คณะผู้ตรวจประเมินดำเนินการวางแผนการตรวจประเมิน ทั้งนี้การคัดเลือกคณะผู้ตรวยประเมนให้พิจารณาจากความรู้ความสามารถที่ตรงกับขอบข่ายที่ขอรับการรับรอง กรณีที่ไม่มีผู้ตรวจประเมินตรงตามขอบข่ายที่ขอรับการรับรองให้ติดต่อ สมพ. หรือ สวพ. อื่น หรือใช้ผู้เชี่ยวชาญร่วมคณะผู้ตรวจประเมิน หรือใช้ผู้ตรวจประเมินภายนอกที่มีความรู้ในขอบข่ายที่ขอรับการรับรอง ทั้งนี้ผู้ตรวจประเมินที่ได้รับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขว่าด้วยคุณสมบัติและประสบการณ์ของผู้ตรวจประเมินและผู้เชี่ยวชาญ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช (F-1)
  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช สำหรับกลุ่ม (F-2)
  • แบบคำขอต่ออายุใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช (F-3)
  • แบบคำขอต่ออายุใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช สำหรับกลุ่ม (F-4)
  • แบบคำขอใบแทน หรือขอแก้ไขข้อมูลในใบรับรอง (F-5)
  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช การคัดบรรจุ และการแปรรูปพืชอินทรีย์ สำหรับผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ (F-57)
  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช การคัดบรรจุ และการแปรรูปพืชอินทรีย์ กรณีกลุ่ม/โครงการ/องค์กร (F-59)
  • แบบสอบถามข้อมูลด้านการจัดการผลิตพืชอินทรีย์ (F-61)
  • แบบสอบถามข้อมูลด้านการจัดการคัดบรรจุ และการแปรรูปพืชอินทรีย์ (F-66)
  • แบบตรวจสอบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช การคัดบรรจุ และการแปรรูปพืชอินทรีย์ (F-60)
  • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขว่าด้วยคุณสมบัติและประสบการณ์ของผู้ตรวจประเมิน และ ผู้เชี่ยวชาญ (RE-3)
  • ตารางกำหนดระยะเวลาการตรวจประเมิน (Man-day) สำหรับการรับรองแหล่งผลิต GAP พืช (SD-2)
  • ตารางกำหนดระยะเวลาการตรวจประเมิน (Man-day) สำหรับการผลิตพืชอินทรีย์ กรณีฟาร์ม (SD-54)
  • ตารางกำหนดระยะเวลาการตรวจประเมิน (Man-day) สำหรับการผลิตพืชอินทรีย์ กรณีผู้ประกอบการ (SD-55)
  • แผนการตรวจประเมินประจำเดือน (F-7)
  • แบบฟอร์มบันทึกการแจ้งกำหนดการตรวจประเมิน (F-8)

ขั้นตอนที่ 4

เตรียมการตรวจประเมิน

คณะผู้ตรวจประเมินรับทราบแผนการตรวจประเมิน และเตรียมการก่อนตรวจประเมิน โดยทำการศึกษาคำขอ รายชื่อเกษตรกรที่ขอรับการตรวจประเมินจากฐานข้อมูล และการทบทวนมาตรฐานที่จะใช้ในการตรวจประเมินเพื่อการรับรอง และจัดทำกำหนดการตรวจประเมินให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการตรวจประเมิน (Man-day) และครอบคลุมทุกกิจกรรมตามขอบข่ายที่ขอรับการรับรอง โดยใช้แบบกำหนดการตรวจรับรอบการผลิตตามระบบการจัดการคุณภาพ จากจัดเตรียมบันทึกต่าง ๆ ที่ใช้ในการตรวจประเมิน ได้แก่ แบบบันทึกการตรวจประเมินการจัดการระบบการผลิต แบบบันทึกข้อบกพร่องฟาร์ม บันทึกการเก็บตัวอย่างดิน น้ำ และพืชส่งวิเคราะห์ และแบบสรุปผลการตรวจประเมินฟาร์ม นอกจากนี้คณะผู้ตรวจประเมินนัดหมายเกษตรกรเพื่อเข้าไปตรวจแปลง

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • แผนการตรวจประเมินประจำเดือน (F-7)
  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช (F-1)
  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช สำหรับกลุ่ม (F-2)
  • รายชื่อเกษตรกรที่ขอรับการตรวจประเมินจากฐานข้อมูล
  • แบบกำหนดการตรวจรับรองระบบการผลิต
  • แบบบันทึกการตรวจประเมินการจัดการระบบการผลิต (Check list)
  • แบบบันทึกข้อบกพร่องฟาร์ม
  • แบบบันทึกการแก้ไขข้อบกพร่องฟาร์ม
  • แบบสรุปการตรวจประเมินฟาร์ม
  • บันทึกการเก็บตัวอย่าง ดิน น้ำ และพืชส่งวิเคราะห์

ขั้นตอนที่ 5

ดำเนินการตรวจประเมิน

คณะผู้ตรวจประเมินดำเนินการตรวจประเมินเพื่อการับรองให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการตรวจประเมินแหล่งผลิต GAP พืช หรือการตรวจประเมินการผลิตพืชอินทรีย์ และให้เป็นไปตามกำหนดการตรวจประเมินที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งการตรวจประเมินประกอบด้วย การสัมภาษณ์ การตรวจเอกสาร/บันทึก การตรวจพินิจ/การสังเกตกิจกรรมและสภาวะของพื้นที่ที่ตรวจ และอาจมีการสุ่มตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือพืช ในกรณีสงสัย โดยบันทึกข้อมูลการเก็บตัวอย่างใน บันทึกการเก็บตัวอย่างดิน น้ำ และพืชส่งวิเคราะห์ เพื่อวิเคราะห์ต่อไป จากนั้นให้บันทึกสิ่งที่พบจากการตรวจประเมินในแบบบันทึกการตรวจประเมินการจัดการระบบการผลิต เมื่อการตรวจประเมินแล้วเสร็จ คณะผู้ตรวจประเมนจะพิจารณาผลการตรวจประเมิน จัดทำแบบบันทึกข้อบกพร่องฟาร์ม และแจ้งให้เกษตรกรรับทราบผลการตรวจประเมินพร้อมลงชื่อในแบบบันทึกข้อบกพร่องฟาร์ม และบันทึกการเก็บตัวอย่างดิน น้ำ และพืชส่งวิเคราะห์ (ถ้ามี)

กรณีมีข้อบกพร่องให้แจ้งเกษตรกรรับทราบและให้เกษตรกรเสนอแนวทางการแก้ไข และกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ พร้อมนัดหมายช่วงเวลาในการตรวจประเมินครั้งต่อไป

กรณีที่คณะผู้ตรวจประเมิน ตรวจประเมินครบทุกหัวข้อให้ผู้ตรวจประเมินจัดทำแบบสรุปการตรวจประเมินฟาร์ม

กรณีที่ไม่สามารถตรวจได้ครบทุกหัวข้อในการตรวจครั้งแรกให้ดำเนินการนัดหมายการตรวจประเมินในครั้งต่อไป

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • แผนการตรวจประเมินประจำเดือน (F-7)
  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช (F-1)
  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช สำหรับกลุ่ม (F-2)
  • รายชื่อเกษตรกรที่ขอรับการตรวจประเมินจากฐานข้อมูล
  • แบบกำหนดการตรวจรับรองระบบการผลิต
  • แบบบันทึกการตรวจประเมินการจัดการระบบการผลิต (Check list)
  • แบบบันทึกข้อบกพร่องฟาร์ม
  • แบบบันทึกการแก้ไขข้อบกพร่องฟาร์ม
  • แบบสรุปการตรวจประเมินฟาร์ม
  • บันทึกการเก็บตัวอย่าง ดิน น้ำ และพืชส่งวิเคราะห์
  • แบบคำขอรับการรับรองการผลิตพืช ผลิตผล ผลิตภัณฑ์ อินทรีย์ (F-57)
  • แบบคำขอรับการรับรองผลิตผล และผลิตภัณฑ์อินทรีย์สำหรับผู้นำเข้า (F-58)
  • แบบคำขอรับการรับรองการผลิตพืช ผลิตผล และผลิตภัณฑ์อินทรีย์ กรณี กลุ่ม โครงการ องค์กร (F-59)
  • แบบตรวจสอบคำขอการรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ ผลิตผล และผลิตภัณฑ์อินทรีย์ (F-60)
  • รายงานการตรวจฟาร์ม (F-62)
  • รายงานการตรวจผู้ประกอบการคัดบรรจุและแปรรูป (F-63)

ขั้นตอนที่ 6

การจัดทำรายงานการตรวจประเมิน

หัวหน้าคณะผู้ตรวจประเมิน จัดทำบันทึกข้อความ เรื่องการทวนสอบความถูกต้องเอกสารและบันทึกการตรวจประเมิน และรวบรวมสรุปผลการตรวจประเมิน บันทึกข้อบกพร่อง และบันทึกการเก็บตัวอย่างดิน น้ำ และพืชส่งวิเคราะห์ (ถ้ามี) เสนอผู้ทบทวนทางด้านเทคนิค เพื่อทวนสอบความถูกต้องเอกสารและบันทึกการตรวจประเมิน และลงนามในบันทึกข้อความ และหัวหน้าคณะผู้ตรวจประเมินรวบรวมเอกสารการตรวจประเมินทั้งหมด ส่งให้งานสารบรรณของหน่วยงาน กรณีเกษตรกรมีข้อบกพร่องและไม่สามารถแก้ไขได้ตามกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จภาย 2 ครั้ง เกษตรกรจะถูกยกเลิกคำขอ (กรณีเป็นการตรวจประเมินเพื่อให้การรับรอง) หรือเพิกถอน (กรณีเป็นการตรวจติดตาม) หรือไม่ต่ออายุใบรับรอง (กรณีเป็นการตรวจต่ออายุ)

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • แบบกำหนดการตรวจรับรองระบบการผลิต
  • แบบบันทึกการตรวจประเมินการจัดการระบบการผลิต (Check list)
  • แบบบันทึกข้อบกพร่องฟาร์ม
  • แบบบันทึกการแก้ไขข้อบกพร่องฟาร์ม
  • แบบสรุปการตรวจประเมินฟาร์ม
  • บันทึกการเก็บตัวอย่างดิน น้ำ และพืชส่งวิเคราะห์
  • รายงานการตรวจฟาร์ม (F-62)
  • รายงานการตรวจผู้ประกอบการคัดบรรจุและแปรรูป (F-63)

ขั้นตอนที่ 7

นัดหมายและดำเนินการประชุมคณะกรรมการรับรองเพื่อพิจารณา

7.1  เลขาคณะกรรมการรับรอง/ผู้อำนวยการส่วนถ่ายทอดเทคโนโลยีรวบรวมและตรวจสอบความครบถ้วนและถูกต้องของข้อมูลทั้งหมด จากนั้นจัดเตรียมการประชุม โดยส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุม และเอกสารประกอบการประชุม ให้คณะกรรมการรับรองมาตรฐานการผลิตพืช

7.2  คณะกรรมการรับรองมาตรฐานการผลิตพืช ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม และพิจารณาให้การรับรอง

7.3  เลขานุการคณะกรรมการรับรองมาตรฐานการผลิตพืชบันทึกผลการประชุม และจัดทำรายงานการประชุม แจ้งมติผลการพิจารณาของคณะกรรมการรับรองมาตรฐานการผลิตพืช ให้เกษตรกร/คณะผู้ตรวจประเมิน/ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ และดำเนินการตามมติต่อไป

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • แผนการประชุม
  • คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการรับรองมาตรฐานการผลิตพืช
  • หนังสือเชิญประชุม
  • ระเบียบวาระการประชุม
  • เอกสารประกอบการประชุม
  • ทะเบียนรายชื่อผู้เข้าประชุมคณะกรรมการรับรองมาตรฐานการาผลิตพืช (F-20)
  • รายงานการประชุมคณะกรรมการรับรองมาตรฐานการผลิตพืช

ขั้นตอนที่ 8

จัดทำใบรับรองและทะเบียนรายชื่อผู้ได้รับการรับรอง

เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการรับรองมีมติพิจารณาให้การรับรองเลขานุการคณะกรรมการรับรองจัดส่งรายงานการประชุมคณะกรรมการรับรองให้เจ้าหน้าที่ส่วนถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อจัดทำใบรับรอง และจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ได้รับการรับรอง จากนั้นนำเสนอผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตลงนาม

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  1. รายงานการประชุมคณะกรรมการรับรอง
  2. ใบรับรอง
  3. ฐานข้อมูลใบรับรอง
  4. ฐานข้อมูลเกษตรกรของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต

ขั้นตอนที่ 9

มอบใบรับรองให้ผู้ได้รับการรับรอง

เมื่อจัดทำใบรับรองและผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตลงนามแล้วจึงจัดส่งใบรับรองให้แก่ผู้ได้รับการรับรอง

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  1. ใบรับรอง

หมายเหตุ  การตรวจต่ออายุมีขั้นตอนเหมือนการตรวจรับรองแหล่งผลิตทุกขั้นตอน / การตรวจติดตามผลเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนที่ 3 – 7

แบบฟอร์ม

  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช (F-1)
  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช สำหรับกลุ่ม (F-2)
  • แบบคำขอต่ออายุใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช (F-3)
  • แบบคำขอต่ออายุใบรับรองแหล่งผลิตพืช GAP พืช สำหรับกลุ่ม (F-4)
  • แบบคำขอใบแทน หรือขอแก้ไขข้อมูลในใบรับรอง (F-5)
  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช การคัดบรรจุ และการแปรรูปพืชอินทรีย์ สำหรับผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ (F-57)
  • แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิตพืช การคัดบรรจุ และการแปรรูปพืชอินทรีย์ กรณีกลุ่ม/โครงการ/องค์กร (F-59)