“เตือนภัยการเกษตร” ช่วงวันที่ 21 สิงหาคม – 3 กันยายน 2567

“เตือนภัยการเกษตร” ช่วงวันที่ 21 สิงหาคม – 3 กันยายน 2567

โดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม สภาพอากาศที่เกิดขึ้นในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพืชชนิดต่างๆ การเกิดโรคระบาดในพืช การระบาดของแมลงศัตรู ตลอดจนข้อสังเกต ข้อควรระวัง แนวทางแก้ไข/ป้องกัน ช่วงวันที่ 21 สิงหาคม – 3 กันยายน 2567

– สภาพอากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ พืชที่อาจเกิดผลกระทบ ได้แก่

1.) กะเพรา โหระพา แมงลัก ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงเก็บเกี่ยว ปัญหาที่ควรระวัง แมลงหวี่ขาวยาสูบ

2.) มะเขือเทศ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงทุกระยะการเจริญเติบโต ปัญหาที่ควรระวัง 1.แมลงหวี่ขาวยาสูบ 2. โรคใบหงิกเหลือง (เชื้อไวรัส Tomato yellow leaf curl virus, TYLCV)

3.) พริก ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงทุกระยะการเจริญเติบโต ปัญหาที่ควรระวัง 1.เพลี้ยไฟพริก 2.โรคแอนแทรคโนส หรือโรคกุ้งแห้ง (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides, Colletotrichum capsici) 3.โรคเน่าเปียก หรือโรครา หนวดแมว (เชื้อรา Choanephora cucurbitarum) 4.โรคใบด่างจุดวง แหวนเนื้อเยื่อตาย (เชื้อไวรัส Tomato necrotic ringspot virus) 5.โรคใบด่างซีดพริก (เชื้อไวรัส Capsicum chlorosis virus)

4.) ผักตระกูล กะหล่ำและผักกาด (เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี ผักกาดขาว ผักกาดหัว) ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงทุกระยะการเจริญเติบโต ปัญหาที่ควรระวัง โรคเน่าเละ (เชื้อแบคทีเรีย Pectobacterium carotovorum subsp. carotovorum)

5.) มังคุด (ภาคใต้) ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงติดผล – เก็บเกี่ยว ปัญหาที่ควรระวัง อาการเนื้อแก้วและ ยางไหล

https://me-qr.com/SDjLzgPY

Scroll to Top