ศึกษาวิธีการใช้น้ำร้อนในการกำจัดเชื้อโรคใบขาวในท่อนพันธุ์อ้อย
#1
การศึกษาวิธีการใช้น้ำร้อนในการกำจัดเชื้อโรคใบขาวในท่อนพันธุ์อ้อย
สุนี ศรีสิงห์, ศุจิรัตน์   สงวนรังศิริกุล, วัลลิภา  สุชาโต และวาสนา  ยอดปรางค์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี

          ทำการทดลองกำจัดโรคใบขาวในท่อนพันธุ์อ้อย โดยใช้ท่อนพันธุ์อ้อยที่มีระดับการเป็นโรคแตกต่างกันจากแปลงอ้อยที่เป็นโรคใบขาว วางแผนการทดลองแบบ factorial in RCB  2 ปัจจัย 4 ซ้ำๆ ละ 3 กอ ดังนี้ ปัจจัยที่ 1  ระดับ หรือ ปริมาณเชื้อในลำอ้อยใช้ท่อนพันธุ์จากกอที่แสดงอาการ 5 ระดับ คือ ก)อ้อยปกติ (จากแปลงขยายพันธุ์) ข) ขาว 0 หน่อ (ไม่แสดงอาการใบขาวในแปลงที่เป็นโรค) ค) มีใบขาว  1 หน่อ ง) มีหน่อขาว 2 หน่อ จ) มีหน่อขาวมากกว่า 2 หน่อ และ ฉ) จากลำแสดงอาการใบขาว ปัจจัยที่ 2  เป็น วิธีการแช่น้ำร้อน 5 วิธีคือที่1) 52 องศาเซลเซียส  นาน  30  นาที ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง  แล้วแช่น้ำร้อน 50 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง หรือเรียก DHWT 2) ที่ 50 องศาเซลเซียส  นาน  2 ชั่วโมง 3) ที่ 50 องศาเซลเซียส นาน  3  ชั่วโมง 4) ที่ 50 องศาเซลเซียส  นาน  5  ชั่วโมง และ 5) แช่น้ำเย็น  1 ชั่วโมง เป็นกรรมวิธีควบคุม ก่อนการทำการตรวจเชื้อด้วย nested PCR พบว่าอ้อยที่ได้จากแปลงขยายพันธุ์ปกติ และอ้อยขอนแก่น 3 ที่ไม่แสดงอาการแต่เก็บจากแปลงที่เป็นโรคพบเชื้อไฟโตพลาสมาน้อยมาก สามารถใช้ขยายพันธุ์ได้ ส่วนตัวอย่างที่พบหน่อขาวทั้งหมดพบเชื้อไฟโตพลาสมา และในตัวอย่างที่จากลำที่เป็นโรคจะพบเชื้อมากที่สุด (ที่ 700bp) หลังจากดำเนินการตามกรรมวิธีพบว่า การผ่านความร้อนจะทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยวิธีที่ผ่านความร้อนนานถึง 5 ชั่วโมงความงอกลดลงมากที่สุด โดยเฉพาะที่มีการติดเชื้อมาก  ผลของการแช่น้ำร้อนเพื่อกำจัดเชื้อสาเหตุโรคใบขาว การใช้น้ำร้อนในทุกกรรมวิธี สามารถควบคุมโรคใบขาวได้ ในช่วง 1-2 เดือนแรก หลังจากนั้นย้ายกล้าอ้อยที่ไม่แสดงอาการใบขาวลงปลูกในแปลงทดลองเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2555 หลังจากลงแปลงไม่พบว่าอ้อยใบขาวในกรรมวิธีที่ผ่านน้ำร้อน ส่วนในกรรมวิธีที่แช่น้ำเย็นพันธุ์อ้อยทีได้จากกอปกติแสดงอาการใบขาวน้อยที่สุด (1.5%)  โดยสรุป แม้อ้อยจะมีการติดเชื้อมาแล้วในการแช่น้ำร้อนทุกกรรมวิธี  ในอ้อยปลูกจะยังไม่แสดงอาการใบขาวจนอ้อยอายุประมาณ 10 เดือน  เมื่อนำตัวอย่างที่อายุ 8 เดือนไปทำการตรวจเชื้อไฟโตพลาสมาอีกครั้งหนึ่งพบเชื้อในปริมาณมาก (ที่ 700bp) เฉพาะในตัวอย่างจากกอที่แสดงอาการใบทั้งลำ ส่วนตัวอย่างอื่นๆ พบเชื้อในปริมาณน้อย โดยสรุปการใช้น้ำร้อนทุกกรรมวิธีสามารถลดปริมาณเชื้อไฟโตพลาสมาในท่อนพันธุ์อ้อยได้


ไฟล์แนบ
.pdf   22_2557.pdf (ขนาด: 269.65 KB / ดาวน์โหลด: 736)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม