การศึกษาเครื่องมือเพื่อผลิตเครื่องอัดก้อนวัสดุเพาะเห็ดจากเปลือกฝักข้าวโพดแบบก้อนยาว
#1
การศึกษาเครื่องมือเพื่อผลิตเครื่องอัดก้อนวัสดุเพาะเห็ดจากเปลือกฝักข้าวโพดแบบก้อนยาว
เกรียงศักดิ์ นักผูก, สถิตย์พงศ์ รัตนคำ, นันทินี ศรีจุมปา และสมเดช ไทยแท้

          งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเครื่องมือเพื่อผลิตเครื่องอัดวัสดุเพาะเห็ดจากเปลือกฝักข้าวโพดแบบก้อนยาว มีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน จำนวน 2 การทดลอง ดังนี้

          1. วิจัยทดสอบและพัฒนาเครื่องหั่นย่อยเปลือกฝักข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สำหรับทดแทนการใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ลักษณะทางกายภาพของเปลือกฝักข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อใช้ในการออกแบบ โดยนำเครื่องหั่นย่อย 3 แบบ คือ 1) เครื่องหั่นย่อยกิ่งไม้ผล 2) เครื่องหั่นย่อยซากพืชเส้นใย และ 3) เครื่องหั่นย่อยทางปาล์ม มาทดสอบเปรียบเทียบความสามารถในการหั่นย่อยเปลือกฝักข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พบว่า เครื่องหั่นย่อยกิ่งไม้ผล มีแนวทางการปรับปรุงพัฒนาใช้หั่นย่อยรวมทั้งลดต้นทุนการผลิตเห็ด โดยการศึกษาเทคโนโลยีการหั่นย่อยที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และศึกษาเปลือกฝักข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สำหรับใช้เป็นวัสดุอัดก้อนเพาะเห็ดแบบยาวได้ แต่มีปัญหาเศษเปลือกฝักข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ม้วนเป็นก้อน จึงออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องหั่นย่อยเปลือกฝักข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่มีดุมล้อเป็นรูปกากบาท เพื่อเพิ่มช่องว่างในการคายตัวของเศษเปลือกฝักข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบว่าสามารถหั่นย่อยเปลือกฝักข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นเส้นฝอย ขนาดความยาว 10 – 100 มิลลิเมตร กว้าง 1 – 5 มิลลิเมตร ไม่มีเศษเปลือกฝักข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ม้วนเป็นก้อน มีความสามารถในการหั่นย่อยสูงสุด 99.21 กิโลกรัมต่อชั่วโมง และสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 1.66 ลิตร/ชั่วโมง เมื่อเทียบกับเครื่องหั่นย่อยกิ่งไม้ผล มีความสามารถในการหั่นย่อยเปลือกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น 2.31 เท่า เครื่องต้นแบบดังกล่าวมีราคาประมาณ 25,000 บาท

          2. วิจัยทดสอบพัฒนาเครื่องอัดก้อนวัสดุเพาะเห็ดจากเปลือกฝักข้าวโพดแบบก้อนยาว มีโครงสร้างที่สำคัญ 8 ส่วน คือ โครงสร้างฐาน ท่อเกลียวป้อนอัด ถาดป้อน โครงช่องป้อน ปลายเรียวท่อ ท่อปลายอัดแน่น เพลาเกลียวอัด และระบบส่งกำลัง ได้ทำการทดสอบการอัดก้อนโดยใช้แรงคนและการอัดก้อนโดยเครื่องอัดก้อนวัสดุเพาะเห็ดจากเปลือกฝักข้าวโพดแบบก้อนยาว ในกรณีเปลือกข้าวโพดที่หั่นย่อยและไม่หั่นย่อยหมักลงถุงพบว่า การอัดเปลือกข้าวโพดที่หั่นย่อยหมักลงถุงยาวโดยใช้แรงคน มีความสามารถในการอัด 65 ± 13 ก้อน/ชั่วโมง และเปลือกข้าวโพดที่ไม่หั่นย่อยหมักลงถุง มีความสามารถในการอัด 49 ± 6 ก้อน/ชั่วโมง การอัดโดยใช้เครื่องอัดก้อนจากเปลือกฝักข้าวโพดแบบก้อนยาว ในการอัดเปลือกข้าวโพดที่หั่นย่อยหมักลงถุงยาว มีความสามารในการอัด 95.00 ± 14.00 ก้อน/ชั่วโมง และเปลือกข้าวโพดที่ไม่หั่นย่อยหมักลงถุง มีความสามารถในการอัด 97.00 ± 14.00 ก้อน/ชั่วโมง ก้อนวัสดุเพาะจากเปลือกข้าวโพดที่อัดน้ำหนัก 2.5 กิโลกรัม ให้ผลผลิตเห็ดนางรมฮังการีเฉลี่ย 796 ± 34 กรัม/ก้อน วัสดุเพาะมีประสิทธิภาพทางชีววิทยา 91.84 ±2.03 เปอร์เซ็นต์


ไฟล์แนบ
.pdf   38_2559.pdf (ขนาด: 2.83 MB / ดาวน์โหลด: 1,097)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม