โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตชาโยเต้
#1
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตชาโยเต้
จิตอาภา จิจุบาล, เกษตริน ฝ่ายอุประ, ธัญพร งามงอน, เยาวภา เต้าชัยภูมิ และลัดดาวัลย์ อินทร์สังข์

          ชาโยเต้ที่ปลูกต่อเนื่องมายาวนานกว่า 10 ปี บนพื้นที่สูง เขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เริ่มประสบปัญหาจากการเก็บผลแก่ปลูกรุ่นต่อรุ่น ขาดการคัดเลือกพันธุ์และการจัดการแปลงที่ดี ทำให้ผลิตตกต่ำ เกิดการระบาดของโรคแมลง ต้นทุนในการจัดการสูง ปัจจุบันพื้นที่ปลูกลดลงจำนวนมาก การคัดเลือกพันธุ์ในพื้นที่ต่างๆ การผสมข้ามพันธุ์ การศึกษาเทคนิคการขยายพันธุ์ที่เหมาะสม เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา สำคัญ ซึ่งได้ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ ปี 2557 - 2559 โดยการสำรวจและรวบรวมพันธุ์จากแหล่งปลูกต่างๆ ในประเทศไทย 5 แหล่ง จำนวน 6 สายพันธุ์ นำปลูกแยกกลุ่มและทำการผสมข้ามสายพันธุ์ทั้งหมด 5 คู่ผสม ซึ่งได้ดำเนินการรวบรวมและศึกษาสายพันธุ์ที่ได้ เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินผล ให้ได้สายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะตรงตามความต้องการต่อไป การขยายพันธุ์ชาโยเต้โดยวิธีปักชำกิ่ง ควรเป็นกิ่งอ่อน จากส่วนยอดที่ในใบติด และมีข้อประมาณ 3 - 4 ข้อ วัสดุชำที่เหมาะสมสำหรับการปักชำในโรงเรือนพลาสติก คือ ทรายละเอียดผสมแกลบดำอัตราส่วน 1:1 มีเปอร์เซ็นต์การรอดตายอยู่ระหว่าง 54 - 71 เปอร์เซ็นต์ กรณีปักชำในโรงเรือนที่มุงหลังคาด้วยตาข่ายพรางแสง 80 เปอร์เซ็นต์ วัสดุชำแกลบดำมีอัตราการรอดตายสูงสุด 75 - 82 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เปอร์เซ็นต์การรอดตายขึ้นอยู่กับช่วงเดือนหรือช่วงฤดูด้วย เนื่องจากสภาพอากาศ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ มีผลต่อการเกิดรากของกิ่งชำในช่วงฤดูฝน การรอดตายของกิ่งจะสูงกว่าฤดูแล้ง ซึ่งอุณหภูมิสูงและความชื้นต่ำกว่า และการปักชำสามารถชำได้ทั้งในโรงเรือนพลาสติกคลุมความชื้น และโรงเรือนหลังคาพรางแสง 80 เปอร์เซ็นต์


ไฟล์แนบ
.pdf   33_2559.pdf (ขนาด: 1.25 MB / ดาวน์โหลด: 553)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม