การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและลักษณะประจำพันธุ์ของชาน้ำมัน
#1
การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและลักษณะประจำพันธุ์ของชาน้ำมัน 
ฉัตต์นภา ข่มอาวุธ, จำรอง ดาวเรือง, สมพล นิลเวศน์, อุทัย นพคุณวงศ์, สมคิด รัตนบุรี, อนันต์ ปัญญาเพิ่ม,ไพรินทร์ มาลา และพรทิพย์ เลิศสมบัติพลอย
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่, สถาบันวิจัยพืชสวน และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1

          การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและลักษณะประจำพันธุ์ของชาน้ำมัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของต้นชาน้ำมันที่ได้จากการเพาะเมล็ดจากต่างประเทศและที่พบในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในโครงการการปรับปรุงพันธุ์ชาน้ำมัน ดำเนินในปี 2556 - 2557  ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงชียงใหม่  จ.เชียงใหม่  แบ่งการศึกษาเป็น  3  กลุ่ม พบว่าแต่ละกลุ่ม มีความแตกต่างในลักษณะสัณฐานวิทยาและลักษณะประจำพันธุ์ ดังนี้ กลุ่มที่ 1  เป็นกลุ่มชาน้ำมันที่ได้จากต้นเพาะเมล็ด ที่มาจากมณฑลหูหนาน และกวางสี พบว่า ชาน้ำมันมีทรงพุ่มแบบทรงปีรามิด ทรงกระบอก และทรงพุ่มทรงกลม ใบมีลักษณะ ดังนี้ ใบอ่อนมีสีบรอนแดง ใบแก่มีสีเขียว ใบมีรูปร่างรี/ไข่  ปลายใบมีลักษณะแหลม/เรียวแหลม/แหลมมน ฐานใบมน/แหลม  ขอบใบมีลักษณะหยักฟันถี่เฉลี่ย 57 ± 7.20 ต่อใบ  ใบกว้าง 3 ± 0.4 ซม.  ยาว 6.33 ± 1.01 ซม.  ก้านใบยาว 0.63 ± 0.12 ซม.  ใบหนา 0.17 ± 0.02 ซม.  ผิวใบเป็นมัน แผ่นใบ (เรียบ/คลื่น) ดอกมีสีขาว ขนาดดอก: กว้าง 3.23 – 4.87 ซม. ยาว 3.60 – 5.02 ซม. ดอกมี 4 - 8 กลีบดอก  ก้านดอกยาว 1.42 – 0.24 ซม.  มีเกสรตัวเมีย 1 ก้าน  มีก้านชูเกสรตัวผู้ 50 - 100 ก้าน  ลักษณะผล ได้แก่ น้ำหนักผล 7.66 ± 3.91 กรัม ขนาดผล: กว้าง 3.19 ± 0.33 ซม. ยาว 3.76 ± 0.45 ซม.  ขนาดเมล็ด: กว้าง 1.50 ± 0.19 ซม. ยาว 1.83 ± 0.24 ซม. มีเมล็ด 1 - 8 ต่อผล  ความหนาของเปลือก: 0.50 ± 0.12 มม. รูปร่างผล: กลม ปลายผล (มน/ป้าน/แหลม) ขนบริเวณผล: ผลอ่อนมีขน ผลแก่ไม่มีขน รูปร่างเมล็ด: กลมรี ครึ่งวงกลมไม่แน่นอน  กลุ่มที่ 2  เป็นกลุ่มพันธุ์ชาน้ำมันพันธุ์การค้าจากต้นเพาะเมล็ดของประเทศจีน ที่มาจากมณฑลเจ้อเจียง พบว่าใบอ่อนมีสีบรอนแดง/สีเขียวอ่อน  ใบแก่มีสีเขียว  ขอบใบมีลักษณะรอยหยักถี่ 42.09 ± 12.47 ซม.  ใบกว้าง  2.84 ± 0.61 ซม.  ใบยาว 5.30 ± 1.25 ซม.  ใบยาวรวมก้านใบ 6.00 ± 1.29 ซม.  ใบหนาผิวใบเป็นมัน แผ่นใบ(เรียบ/คลื่น)  ฐานใบ: รูปกลม (Round)/รูปลิ่ม (Cuneate) ปลายใบ: ปลายแหลม (Acute) และแผ่นใบ: รูปรี (Elliptic) และกลุ่มที่ 3  เป็นกลุ่มพันธุ์พันธุ์ชาสำหรับผลิตน้ำมันจากแหล่งต่างๆ ของประเทศไทย และสายพันธุ์จากต่างประเทศพบว่า ใบอ่อนมีสี บรอนแดง/สีเขียวอ่อน  ใบแก่มีสีเขียว  ขอบใบมีลักษณะรอยหยักถี่ 57.86 ± 22.51 ซม.  ใบกว้าง  3.85 ± 1.11 ซม.  ใบยาว 7.02 ± 1.61 ซม.  ใบยาวรวมก้านใบ 7.65 ± 1.63 ซม.  ใบหนาผิวใบเป็นมัน แผ่นใบ(เรียบ/คลื่น)  ฐานใบ: รูปกลม (Round)/รูปลิ่ม (Cuneate) ปลายใบ: ปลายแหลม (Acute)/ปลายเรียวแหลม (Acuminate)/ปลายคมแข็ง (Cuspidate) และแผ่นใบ: รูปรี (Elliptic)


ไฟล์แนบ
.pdf   218_2557.pdf (ขนาด: 719.33 KB / ดาวน์โหลด: 533)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม