การพัฒนาสายพันธุ์เห็ดแครงเพื่อการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ภาคใต้
#1
การพัฒนาสายพันธุ์เห็ดแครงเพื่อการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ภาคใต้  
อภิญญา  สุราวุธ, ลักษมี  สุภัทรา, นันทิการ์  เสนแก้ว, ประสพโชค  ตันไทย, บุญพา  ชูผอม และอุดร  เจริญแสง
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8

          การพัฒนาสายพันธุ์เห็ดแครงเพื่อการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อศึกษาความหลากหลายของสายพันธุ์เห็ดแครง และคัดเลือกสายพันธุ์เห็ดแครงที่ให้ผลผลิตสูงเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ทำการทดลองระหว่างเดือน ต.ค. 2555 – ก.ย. 2557  โดยทำการเก็บรวบรวมสายพันธุ์เห็ดจากแหล่งต่างๆ ทุกภาคของประเทศไทย จำนวน 48 สายพันธุ์ แยกเชื้อบริสุทธิ์ และเพาะทดสอบเบื้องต้น เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์โดยดูจากการเจริญเติบโต และลักษณะทางสัณฐานวิทยา ได้สายพันธุ์สำหรับคัดเลือกจำนวน 20 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ SC005 SC010 SC012 SC013 SC017 SC018 SC022 SC023 SC024 SC026 SC029 SC030 SC031 SC034 SC036 SC038 SC039 SC040 SC041 และ SC043 เปรียบเทียบการเจริญของเส้นใยเห็ดแครงจำนวน 20 สายพันธุ์ บนอาหารพีดีเอ โดยมีสายพันธุ์ SC041 ซึ่งเป็นสายพันธุ์การค้าจากศูนย์รวบรวมเชื้อพันธุ์เห็ดแห่งประเทศไทยเป็นตัวเปรียบเทียบ พบว่าเห็ดแครงสายพันธุ์ SC012 และ SC030 เจริญเติบโตได้ดีที่สุด และให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยมีค่าเฉลี่ยความกว้างของโคโลนี 84.50 มิลลิเมตร รองลงมาคือสายพันธุ์ SC023 มีค่าเฉลี่ยความกว้างของโคโลนี 81.50 มิลลิเมตร เมื่อเลี้ยงไว้บนอาหาร 6 วัน และเมื่อเพาะทดสอบเพื่อเปรียบเทียบผลผลิต โดยใช้วัสดุเพาะ  ขี้เลื่อยไม้ยางพารา : ข้าวฟ่าง : รำละเอียด : ปูนขาว  ในอัตราส่วน 100 : 50 : 5 : 1 ความชื้น 60 - 70 % ถุงละ 500 กรัม พบว่าเห็ดแครงสายพันธุ์ SC031 SC022 SC023 เจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีที่สุดโดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 69.93 69.67 และ 69.11 กรัม/ถุง มีเปอร์เซ็นต์ผลผลิตเฉลี่ยต่อน้ำหนักแห้งวัสดุเพาะ (% B.E.) 32.51  32.39 และ 32.13 ตามลำดับ และให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติกับสายพันธุ์ SC041  SC043  SC040  SC034  SC026  SC013  SC010  SC018  โดยสายพันธุ์ดังกล่าวให้ผลผลิตสูง ซึ่งจะเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรนอกเหนือจากสายพันธุ์ SC041 ซึ่งเป็นสายพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร 


ไฟล์แนบ
.pdf   206_2557.pdf (ขนาด: 310.47 KB / ดาวน์โหลด: 783)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม