วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการอบลดความชื้นสำหรับทำพริกแห้ง
#1
วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการอบลดความชื้นสำหรับทำพริกแห้ง
เวียง  อากรชี, วิบูลย์  เทเพนทร์, สนอง  อมฤกษ์, อนุชา เชาว์โชติ, ธนกฤต โยธาทูล และอุทัย ธานี
ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น, สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม, ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม่ และศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี

          งานวิจัยนี้เป็นการทดสอบการใช้เครื่องอบแห้งพริกแบบต่างๆ ในการทำพริกแห้ง โดยเครื่องอบแห้งพริกที่ใช้มี 3 แบบ คือ 1. ใช้เครื่องอบแห้งลมร้อนแบบชั้นวางใช้แก๊สหุงต้มเป็นแหล่งกำเนิดความร้อน โดยเครื่องอบ มีขนาด 1.22 x 2.44 x 1.22 เมตร (กว้าง x ยาว x สูง) มีชั้นตะแกรงสแตนเลส ขนาด 0.75 x 1.00 เมตร (กว้าง x ยาว) จำนวน 20 ถาด  พัดลมเป็นแบบไหลตัดแนวแกน มีการหมุนเวียนลมร้อนกลับมาใช้บางส่วน เมื่อทดสอบอบแห้งพริกขี้หนูพันธุ์หัวเรือ 100 กิโลกรัม พบว่าการอบแห้งพริกขี้หนูพันธุ์หัวเรือจากความชื้นเริ่มต้น 65% เหลือ 14% ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 16 ชั่วโมง 2. โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์สะสมพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์แบบภาวะเรือนกระจก มีขนาด 6.00 x 6.00 x 1.80 เมตร (กว้าง x ยาว x สูง)  คลุมด้วยโพลีคาร์บอเนตใส  ทดสอบอบแห้งพริกขี้หนูพันธุ์หัวเรือ 100 กิโลกรัม พบว่าการอบแห้งพริกขี้หนูพันธุ์หัวเรือจากความชื้นเริ่มต้น 65% เหลือ 14% ใช้เวลา 5 - 7 วัน 3. เครื่องอบแห้งแบบโรตารี ขนาดความจุ 250 กิโลกรัมต่อครั้ง ถังอบแห้งรูปทรงกระบอกแปดเหลี่ยม ใช้พัดลมเป็นแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางใบโค้งหน้า ต้นกำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้า และมีชุดหัวพ่นแก๊สหุงต้มกำเนิดลมร้อนพร้อมอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ ทดสอบอบแห้งพริกขี้หนูพันธุ์หัวเรือ 250 กิโลกรัม พบว่าการอบแห้งพริกขี้หนูพันธุ์หัวเรือจากความชื้นเริ่มต้น 65% เหลือ 14% ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 20 ชั่วโมง  


ไฟล์แนบ
.pdf   175_2557.pdf (ขนาด: 837.02 KB / ดาวน์โหลด: 2,311)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม