เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์พริกโดยใช้ต้นตอที่ต้านทาน/ทนทาน โรคในดิน
#1
เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์พริกโดยใช้ต้นตอที่ต้านทาน/ทนทาน โรคในดิน
กฤษณ์ ลินวัฒนา, ทวีพงศ์ ณ น่าน, นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, วิลาวัลย์ ใคร่ครวญ, ตราครุฑ ศิลาสุวรรณ และวิศรุต สันม่าแอ
สถาบันวิจัยพืชสวน, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน, สำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ และสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          โรคเหี่ยวเขียวและไส้เดือนฝอยรากปมที่เกิดจากเชื้อโรคในดินเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญในการผลิตพริกคุณภาพ การศึกษาการขยายพันธุ์พริกโดยใช้ต้นตอ ดำเนินการที่โรงเรือนในสวนเฉลิมพระเกียรติ 55 พรรษา สมเด็จพระเทพฯ กรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2555 - 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดพันธุ์ของพริกที่ทนทาน/ต้านทานต่อ โรคไส้เดือนฝอยรากปม (Nematode root gall) ที่เกิดจากเชื้อ Meloidogyne spp. และ โรคเหี่ยวเขียว (Bacterial wilt) ที่เกิดจากเชื้อ Ralstonia  solanacearum  วางแผนการทดลองแบบ RCBD 3 ซ้ำ ประกอบด้วยพริก 9 พันธุ์ (กรรมวิธี)  สำหรับมะเขือขื่น (Solanum aculeatissimum) ได้มีการศึกษาความทนทาน/ต้านทานต่อ โรคเหี่ยวเขียว ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวด้วย หลังจากได้ผลการศึกษาในโรงเรือนสวนเฉลิมพระเกียรติฯ นำต้นตอพันธุ์ที่ต้านทาน/ทนทาน ศึกษาในแปลงปลูกโดยใช้กิ่งพันธุ์ดีพริกที่เป็นการค้าเป็นต้นพันธุ์ดีเสียบยอดปลูกศึกษาที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน จ.น่าน ในปี 2557 วางแผนการทดลองแบบ RCBD 5 ซ้ำ 4 กรรมวิธี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลิตและคุณภาพ 

          ผลการทดลองการศึกษาในโรงเรือนด้านชนิดพันธุ์ที่ต้านทาน/ทนทานพบว่า พริกพันธุ์เบอร์ 2, 7, 8 และมะเขือขื่น มีความต้านทาน/ทนทาน ต่อโรค Bacterial wilt ขณะที่พริกพันธุ์เบอร์ 4 มีความ ต้านทาน/ทนทานต่อไส้เดือนฝอย รากปมได้ ระดับที่ดี เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นต้นตอ สำหรับการศึกษาระดับความทนทาน/ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเขียว ในแปลงปลูก โดยนำต้นพันธุ์ดีพริกที่เป็นการค้าเป็นกิ่งพันธุ์ดีเสียบยอดบนต้นตอ พันธุ์เบอร์ 2, 7 และ มะเขือขื่น พบว่าการใช้ต้นตอที่ต้านทานโรคมีแนวโน้มการเจริญเติบโตดีกว่าที่ปลูกโดยไม่มีการใช้ต้นตอ อย่างไรก็ตามพริกพันธุ์เบอร์ 8 ให้ผลผลิตสูงที่สุด แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ถึงแม้ทุกๆ กรรมวิธีจะไม่แสดงอาการของโรค อาจเป็นเพราะการปลูกถ่ายเชื้อ Bacteria ดังกล่าว ลงในกรรมวิธีดำเนินการในระยะที่อายุของพืช 1 เดือนครึ่ง อาจมีผลทำให้พืชไม่แสดงอาการของโรคทั้งในทุกๆ กรรมวิธี


ไฟล์แนบ
.pdf   172_2557.pdf (ขนาด: 555.42 KB / ดาวน์โหลด: 1,510)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม