ทดสอบและพัฒนาเครื่องทอดสุญญากาศสำหรับเนื้อลำไย
#1
ทดสอบและพัฒนาเครื่องทอดสุญญากาศสำหรับเนื้อลำไย
ชัยวัฒน์ เผ่าสันทัดพาณิชย์, สนอง อมฤกษ์, เกรียงศักดิ์ นักผูก, สถิตย์พงศ์ รัตนคำ, ธีรศักดิ์ โกเมฆ, ปรีชา ชมเชียงคำ และเวียง อากรชี
ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม่ และกลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว 

          งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทดสอบและพัฒนาปรับปรุงเครื่องทอดสุญญากาศต้นแบบของสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรมให้มีประสิทธิภาพสำหรับการทอดเนื้อลำไย เครื่องทอดสุญญากาศต้นแบบของสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ประกอบด้วย 1) ถังทอดแบบปิดสนิทลักษณะทรงกระบอกตั้ง มีตะกร้าทอดทรงกระบอกวางแนวตั้งภายในและมีแกนหมุนปรับเร็วและช้าได้ ความสามารถในการทอด 5 กิโลกรัม/ครั้ง มีการสลัดน้ำมันในถังทอด 2) ระบบให้ความร้อนกับน้ำมันทอด แบบผ่านตัวกลางเป็นน้ำมันถ่ายเทความร้อนโดยใช้แกสหุงต้มเป็นเชื้อเพลิง 3) ถังพักและสำรองน้ำมันทอด 4) ระบบปั๊มหมุนเวียนน้ำมันทอดออกจากถังทอด 5) ระบบชุดดักไอเดือดของน้ำและน้ำมันจากถังทอดก่อนเข้าปั๊มสุญญากาศ และ6) เครื่องปั๊มสุญญากาศแบบ Mechanical Booster Pump หลังการปรับปรุงได้เครื่องทอดสุญญากาศแบบพัฒนา ติดตั้งชุดโซลินอย์ดวาล์วคู่ใช้ควบคุมปริมาณการปล่อยแกสเป็นแบบสัดส่วนได้ ทำให้สะดวกและรวดเร็วในการควบคุมอุณหภูมิของน้ำมันทอด ติดตั้งชุดปรับลดอุณหภูมิน้ำในถังของเครื่องหอหล่อเย็น (cooling tower) ที่หมุนเวียนน้ำไปแลกเปลี่ยนความร้อนกับชุดควบแน่นไอเดือด ทำให้การแลกเปลี่ยนความร้อนทำได้เร็วขึ้น ผลการทดสอบเบื้องต้นการทอดสุญญากาศเนื้อลำไยด้วยเครื่องทอดสุญญากาศของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลทุ่งนนทรี อ.เขาสมิง จ.ตราด ได้ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เนื้อลำไยทอดกรอบสุญญากาศ สีเหลืองทอง เนื้อแห้งกรอบ รสหวาน และไม่อมน้ำมัน และพบว่า เนื้อลำไยสดจำนวนเฉลี่ย 15.5 กิโลกรัม มีสภาวะการทอดเหมาะสมที่อุณหภูมิทอด 75 องศาเซลเซียส ใช้เวลาทอดเฉลี่ยที่ 40.7 นาที และสลัดน้ำมันที่ความเร็วประมาณ 1400 รอบ/นาที นาน 12 นาที โดยควบคุมระดับสุญญากาศที่ 760 มิลลิเมตรปรอท ได้ผลิตภัณฑ์หลังทอด จำนวนเฉลี่ย 2.5 กิโลกรัม คิดเป็นอัตราส่วนน้ำหนักแห้งต่อน้ำหนักสด ได้เท่ากับ 1 : 6 ขณะดำเนินการศึกษาทดสอบเครื่องทอดสุญญากาศแบบพัฒนาได้


ไฟล์แนบ
.pdf   143_2557.pdf (ขนาด: 195.06 KB / ดาวน์โหลด: 1,090)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม