การทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพถั่วเขียวผิวดำในเขตภาคเหนือตอนล่าง
#1
การทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพถั่วเขียวผิวดำในเขตภาคเหนือตอนล่าง
อารีรัตน์ พระเพชร, สุรศักดิ์ วัฒนพันธุ์สอน, อรณิชชา สุวรรณโฉม, สันติ พรหมคำ, ปวีณา ไชยวรรณ์, ชัยณรงค์ จันทร์แสนตอ และสมคิด เมฆนิล
ศูนย์วัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี และศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท

          ทำการทดสอบเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพถั่วเขียวผิวดำในไร่เกษตรกรอำเภอคีรีมาศจังหวัดสุโขทัยซึ่งเป็นแหล่งปลูกที่สำคัญ ตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปี 2557 จำนวนแปลงทดสอบในไร่เกษตรกร 22 แปลง เพื่อนำพันธุ์ดีและการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพเมล็ด และให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการทดสอบโดยวีธีการให้ความรู้ และติดตามในแปลงทุกขั้นตอน กรรมวิธีทดสอบในปี 2554 - 2555 มี 3 กรรมวิธี จำนวน 7 แปลงและคัดเลือกวิธีที่ดีที่สุดลงทดสอบในแปลงใหญ่ในปี 2556 จำนวน 5 แปลง และขยายผลในแหล่งปลูกที่สำคัญในปี 2557 จำนวน 10 แปลง ใช้ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 80 เพื่อเปรียบเทียบกรรมวิธีแนะนำของกรมวิชาการเกษตร คือใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 5 กิโลกรัมต่อไร่ และคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยไรโซเบียมร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ เปรียบเทียบวิธีเกษตรกร คือใช้เมล็ดพันธุ์อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่มีการใส่ปุ๋ย  ผลการทดสอบพบว่า การปลูกถั่วเขียวผิวดำเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย โดยปลูกเป็นพืชตามหลังการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเดือนสิงหาถึงเดือนกันยายนนั้น จำเป็นต้องมีการใส่ปุ๋ยเคมีที่มี N : P : K ในอัตราส่วน  3:6:3 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับการใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมคลุกเมล็ดก่อนปลูก ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 20  คือ 291 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่การปลูกวิธีเกษตรกรให้ผลผลิตเพียง 232 กิโลกรัมต่อไร่ และทำให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเมล็ดพันธุ์ นอกจากนี้แล้ววิธีแนะนำยังทำให้มีผลผลิตที่มีคุณภาพโดยมีเมล็ดลีบเพียงร้อยละ 13 ในขณะที่การปลูกและดูแลรักษาแบบวีเกษตรกรมีอัตราเมล็ดลีบมากถึง ถึงร้อยละ 16


ไฟล์แนบ
.pdf   99_2557.pdf (ขนาด: 509.51 KB / ดาวน์โหลด: 1,443)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม