โครงการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพถั่วเหลืองเฉพาะพื้นที
#1
โครงการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพถั่วเหลืองเฉพาะพื้นที
ศุภชัย อติชาติ

          การดำเนินการวิจัยนี้กระทำขึ้นจากปัญหาการผลิตถั่วเหลืองในประเทศไทยแต่ละพื้นที่มีการผลิตที่ให้ผลผลิตต่ำ ผลตอบแทนต่ำ เป็นพืชทางเลือกเมื่อไม่สามารถปลูกพืชอื่นได้ การผลิตของเกษตรกรยังคงมิได้ใช้เทคโนโลยีของกรมวิชาการในการผลิต ทั้งเรื่องพันธุ์ดี ที่เหมาะสม การเขตกรรม การใส่ปุ๋ย และการดูแลโรคแมลงยังคงการผลิตตามแตํจะเคยดำเนินการมา โดยที่ศักยภาพของถั่วเหลืองแต่ละพื้นที่สามารถเพิ่มผลผลิตได้อีก เพื่อให้การผลิตถั่วเหลืองยังคงดำเนินต่อไปได้และมีประสิทธิภาพดีขึ้นการวิจัยนี้จึงได้กำหนดการวิจัยเป็น 3 กิจกรรมคือ กิจกรรมที่ 1 การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพถั่วเหลืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กิจกรรมที่ 2 การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองในภาคตะวันออก และกิจกรรมการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองฝักสดที่เหมาะสมในพื้นที่จังหวัดลพบุรีและสระบุรี ซึ่งแต่ละกิจกรรมมีการผลิตถั่วเหลืองที่แตกต่างกัน ทั้งช่วงระยะเวลาปลูก พันธุ์ และการผลิตเพื่อเมล็ดและการผลิตเป็นถั่วเหลืองฝักสดตามลักษณะของท้องถิ่นนั้นๆ แต่ใช้วิธีการทดสอบเปรียบเทียบระหว่างกรรมวิธีของเกษตรกรและกรรมวิธีทดสอบ เริ่มดำเนินการในปี 2543 และสิ้นสุดในปี 2556 จากผลการดำเนินงานพบว่าแต่ละพื้นที่มีการตอบสนองต่อผลการดำเนินงานแต่ต่างกันไป ส่วนใหญ่กรรมวิธีทดสอบให้ผลเชิงบวกดีกว่ากรรรมวิธรของเกษตรกร แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายเกษตรกลับพบว่า ในความเหมือนกันของสภาพภูมินิเวศหากตัวเกษตรกรมีวิธีปฏิบัติแตกต่างกันไป อันส่งผลให้บางปีและบางพื้นที่กรรมวิธีของเกษตรกรให้ผลผลิตสูงกว่ากรรมวิธีทดสอบ นั้นแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพืชที่มีต่อแต่ละพื้นที่และแต่ละวิธีปฏิบัติยังคงมีความแตกต่างกัน หากเกษตรกรมีความเข้าใจและสามารถปรับใช้เทคโนโลยีของกรมวิชาการได้อยำงเหมาะสมจะสามารถเพิ่มผลผลิต ศักยภาพและลดต้นทุนได้

1. การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพถั่วเหลืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ศุภชัย อติชาติ, รัชนีวรรณ ชูเชิด, วิภารัตน์ ดำริเข้มตระกูล และคณะ

          การทดสอบชุดเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองที่เหมาะสมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาและเพิ่มศักยภาพการผลิตถั่วเหลือง สามารถเพิ่มผลผลิตได้และเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองในพื้นที่เป้าหมาย โดยใช้กระบวนการแบบเกษตรกรมีส่วนร่วมตามขั้นตอนของระบบการทำฟาร์ม ดำเนินการทดสอบในพื้นที่บ้านหนองโพนงาม ตำบลหนองโพนงาม อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2554 คัดเลือกเกษตรกรร่วมทำแปลงทดสอบจำนวน 5 ราย พื้นที่ 10 ไร่ แบ่งเป็น 2 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีทดสอบตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรเปรียบเทียบกับกรรมวิธีปฏิบัติเดิมของเกษตรกร ใช้พันธุ์ สจ. 5 และเชียงใหม่ 60 พบว่า กรรมวิธีทดสอบที่ใช้พันธุ์เชียงใหม่ 60 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 278 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิต 1,173 บาทต่อไร่ และผลตอบแทน 4,448 บาทต่อไร่ ขณะที่กรรมวิธีปฏิบัติของเกษตรกร ให้ผลผลิตเฉลี่ย 231 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิต 1,562 บาทต่อไร่ และผลตอบแทน 3,701 บาทต่อไร่ กรรมวิธีทดสอบที่ใช้พันธุ์สจ. 5 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 303 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิต 1,170 บาทต่อไร่ และผลตอบแทน 4,848 บาทต่อไร่ ขณะที่กรรมวิธีปฏิบัติของเกษตรกรให้ผลผลิตเฉลี่ย 278 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิต 1,475 บาทต่อไร่ และผลตอบแทน 4,320 บาทต่อไร่ โดยกรรมวิธีทดสอบตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรทั้ง 2 พันธุ์ ให้ผลผลิตและผลตอบแทนสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร และมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่ากรรมวิธีเกษตรกร เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

          และในปีงบประมาณ 2554 ได้ดำเนินการที่บ้านภูทับฟ้า ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย ส่วนปีงบประมาณ 2555 ได้ดำเนินการที่บ้านนาโป่ง และบ้านขอนแก่น ต.นาโป่ง อ.เมือง จ.เลย ทั้ง 2 พื้นที่เป็นแหล่งปลูกดั้งเดิมของจังหวัดเลย ในแต่ละปีได้เกษตรกรร่วมงานทดสอบครั้งละ 5 ราย โดยมีวิธีการทดสอบ 2 วิธีการ ระหว่างการปลูกถั่วเหลืองโดยไม่ใส่ปุ๋ยซึ่งเป็นวิธีของเกษตรกรเปรียบเทียบกับวิธีใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินซึ่งเป็นวิธีของกรมวิชาการเกษตร ผลการทดสอบในปีงบประมาณ 2554 พบว่า ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตในวิธีแนะนำของกษตรกร 4 ราย ให้ค่าสูงกว่าวิธีของเกษตรกร โดยให้ค่าผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 330, 390, 334 และ 346 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนวิธีของเกษตรกรให้ค่าผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 328, 338, 316 และ 316 มีเกษตรกรเพียงรายเดียวที่ ผลผลิตของวิธีเกษตรกรให้ค่าสูงกว่าวิธีการแนะนำ วิธีแนะนำทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 - 13 แต่ก็ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 13.8 ต้นทุนการผลิตถั่วเหลืองส่วนใหญ่ร้อยละ 55 คือ ค่าจ้างเก็บเกี่ยว รองลงมาคือ ค่าเมล็ดพันธุ์ ส่วนค่าจ้างปลูกเป็นค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุดคือ ร้อยละ 4.8 สัดส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefit Cost Ratio : BCR) พบว่า วิธีการของเกษตรกรมีค่าอยู่ระหว่าง 1.1 - 3.2 สูงกว่าวิธีการแนะนำซึ่งมีค่าระหว่าง 1.2 – 2.8 แต่โดยเฉลี่ยแล้วมีค่าใกล้เคียงกันคือ 1.99 และ 2.0

          ในปีงบประมาณ 2555 ได้ทำการทดสอบเทคโนโลยีที่บ้านนาโป่ง และบ้านขอนแก่น ต.นาโป่ง อ.เมือง จ.เลย มีเกษตรกรเข้าร่วม 5 รายผลการทดสอบพบว่า ผลผลิตต่อไร่ วิธีเกษตรกรมีค่ามากกว่าร้อยละ 14 - 37 โดยมีค่าผลผลิตเฉลี่ย 466, 433, 420 และ 233 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนวิธีเกษตรกรมีค่าผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 293, 400, 353 และ 200 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนองค์ประกอบผลผลิตระหว่างทั้ง 2 วิธี มีความแตกต่างกันไม่มากนัก วิธีแนะนำทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 แต่ก็ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 14 - 34 ต้นทุนการผลิตถั่วเหลืองส่วนใหญ่ร้อยละ 45 คือ ค่าจ้างเก็บเกี่ยว รองลงมาคือ ค่าเมล็ดพันธุ์ ส่วนค่าจ้างปลูกเป็นค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด คือ ร้อยละ 0.3 สัดส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefit Cost Ratio : BCR) พบว่าวิธีการของเกษตรกรมีค่าอยู่ระหว่าง 1.1 - 3.2 สูงกว่าวิธีการแนะนำซึ่งมีค่าระหว่าง 1.2 – 2.8 แต่โดยเฉลี่ยแล้วมีค่าใกล้เคียงกันคือ 1.99 และ 2.0

          ในปีงบประมาณ 2556 ได้ทำการทดสอบเทคโนโลยีที่บ้านนาโป่ง และบ้านขอนแก่น ต.นาโป่ง อ.เมือง จ.เลย มีเกษตรกรเข้าร่วม 5 รายผลการทดสอบพบว่า ผลผลิตต่อไร่ วิธีเกษตรกรมีค่ามากกว่าร้อยละ 27 - 48 โดยมีค่าผลผลิตเฉลี่ยของเกษตรกรแต่ละรายเท่ากับ 317.6, 260.4, 234.8 และ 226.4 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนวิธีเกษตรกรมีค่าผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 241.6, 175.2, 170.8 และ 178 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนองค์ประกอบผลผลิตระหว่างทั้ง 2 วิธีมีความแตกต่างกันไม่มากนัก

2. การทดสอบ และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองในภาคตะวันออก
วุฒิชัย กากแก้ว, จารุณี ติสวัสดิ์, พินิจ กัลยาศิลปิน และจงรักษ์ จารุเนตร

          การผลิตถั่วเหลืองในภาคตะวันออกมีทั้งหมด 4 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว และจันทบุรี การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาระบบการผลิตและเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตถั่วเหลือง ประกอบด้วยการทดสอบพันธุ์ถั่วเหลืองในพื้นที่ไร่เกษตรกรภาคตะวันออกและทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองในไร่เกษตรกรภาคตะวันออก กำหนดพื้นที่เป้าหมายที่ทำการทดลอง คือ พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยเกษตรกรที่ร่วมการทดสอบมีส่วนร่วมในการเลือกกรรมวิธีที่จะใช้เปรียบเทียบ เพื่อสร้างการยอมรับของเกษตรกรในการยกระดับผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร มีเกษตรกรเข้าร่วมทั้งหมด 2 ราย การทดสอบพันธุ์ถั่วเหลืองในพื้นที่ไรํเกษตรกรพบว่า ถั่วเหลืองพันธุ์ชม.6 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ที่เกษตรกรใช้

          ผลการศึกษาจะเห็นได้ว่า ถั่วเหลืองพันธุ์ชม.6 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ของเกษตรกร และกรรมวิธีเกษตรกรให้ผลผลิตสูงกว่ากรรมวิธีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ผลตอบแทนและอัตราส่วนรายได้ต่อการลงทุน (BCR) ถั่วเหลืองพันธุ์ชม.6 สูงกว่าพันธุ์ที่เกษตรกรใช้ ส่วนการทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองในไร่เกษตรกรพบว่า กรรมวิธีเกษตรกรให้ผลผลิตสูงกว่ากรรมวิธีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร เมื่อพิจารณาถึงผลตอบแทนและอัตราส่วนรายได้ต่อการลงทุน (BCR) ก็ยังพบว่า กรรมวิธีเกษตรกรได้ค่า BCR สูงกว่ากรรมวิธีตามคำแนะนำ สาเหตุจากกรรมวิธีตามคำแนะนำมีต้นทุนผันแปรสูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะค่าปลูกที่ต้องปลูกแบบหยอดหลุมตามร่องและค่าปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นมา ส่วนเกษตรกรปลูกแบบหว่านและไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลย

3. การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตถั่วเหลืองฝักสดในพื้นที่จังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี
นงลักษ์ ปั้นลาย และวีรวัฒน์ นิลรัตนคุณ

          การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตถั่วเหลืองฝักสดในพื้นที่จังหวัดลพบุรี และสระบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อหาเทคโนโลยีในการผลิตถั่วเหลืองฝักสดที่เหมาะสมในพื้นที่จังหวัดลพบุรี และสระบุรีด าเนินการในไรํเกษตรกรจังหวัดลพบุรีและสระบุรี ฤดูฝนปี 2554-2556 มีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้ 1. การเลือกและวิเคราะห์พื้นที่เป้าหมาย 2. การวางแผนการวิจัย 3. การดำเนินการวิจัย 4. การสรุปผลและยืนยันการทดสอบ และ 5. การขยายผลการทดสอบโดยนำเทคโนโลยีที่ได้จากการวิจัยของกรมวิชาการเกษตรไปปรับใช้ในแปลงเกษตรกร ทำการวิเคราะห์ดินก่อนปลูกและแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับการใช้เชื้อไรโซเบียมคลุกเมล็ดพันธุ์

          ปี 2554 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 5 รายๆ ละ 2 ไร่ ประกอบด้วย 2 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีทดสอบและกรรมวิธีเกษตรกร จากการวิเคราะห์ดินก่อนปลูกได้แนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยตามคำวิเคราะห์ดิน อัตรา 9-9-6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O/ไร่ 2 ราย และอัตรา 9-3-6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O/ไร่ 3 รายผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีทดสอบให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตฝักสดต่อไร่สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร และให้องค์ประกอบผลผลิต ได้แก่ ความสูง จำนวนฝักต่อต้น และจำนวนเมล็ดต่อฝัก มากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ในขณะที่ให้จำนวนต้นต่อไร่น้อยกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์พบว่ากรรมวิธีทดสอบให้สัดส่วนผลตอบแทนสุทธิ (BCR) สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร

          ปี 2555 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 8 รายๆ ละ 2 ไร่ ประกอบด้วย 2 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีทดสอบและกรรมวิธีเกษตรกร จากการวิเคราะห์ดินก่อนปลูกได้แนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยตามคำวิเคราะห์ดิน อัตรา 9-6-0 กิโลกรัม N-P2O5-K2O/ไร่ 3 ราย อัตรา 9-6-3 กิโลกรัม N-P2O5-K2O/ไร่ 2 ราย และอัตรา 9-3-0 กิโลกรัม N-P2O5-K2O/ไร่ 3 รายผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีทดสอบให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตฝักสดต่อไร่สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์พบว่ากรรมวิธีทดสอบให้สัดส่วนผลตอบแทนสุทธิ (BCR) สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร

          ปี 2556 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 5 รายๆ ละ 2 ไร่ ประกอบด้วย 2 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีทดสอบและกรรมวิธีทดสอบ จากการวิเคราะห์ดินก่อนปลูกได้แนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยตามคำวิเคราะห์ดิน อัตรา 3-9-6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O/ไร่ ทั้ง 5 ราย ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีทดสอบให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตฝักสดตํอไร่สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์พบว่ากรรมวิธีทดสอบให้สัดส่วนผลตอบแทนสุทธิ (BCR) สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม