ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสาบม่วง (Praxelis); Praxelis clematidea R.M King & H. Rob.
#1
ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสาบม่วง (Praxelis); Praxelis clematidea R.M King & H. Rob.
วนิดา ธารธวิล, ยุรวรรณ อนันตนมณี, จรรยา มณีโชติ, สิริชัย สาธุวิจารณ์ และสุพัตรา ชาวกงจักร์
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

         จากการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ได้ทำการสำรวจและรวบรวมเมล็ดสาบม่วงในพื้นที่แปลงของเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกมันสำปะหลัง สับปะรด และยางพารา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 50 แปลง ดังนี้ จังหวัดกาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ร้อยเอ็ด หนองคาย เลย นครพนม และได้นำเมล็ดมาทำการเพาะเพื่อทดสอบความงอกและศึกษาการเจริญเติบโตของสาบม่วงพบว่า เมล็ดมีเปอร์เซ็นต์ความงอกค่อนข้างต่ำ อาจเนื่องมาจากสภาพเมล็ดที่ได้จากการสำรวจไม่สมบูรณ์ มีความเป็นไปได้ว่าเกษตรกรอาจฉีดพ่นยาในช่วงที่ติดเมล็ดจึงทำให้เมล็ดไม่สมบูรณ์ ซึ่งขณะนี้ได้ทำการปลูกทดสอบใหม่เพื่อใช้เก็บข้อมูลและศึกษาชีววิทยาของสาบม่วงอีกครั้ง

         ในการศึกษาชีววิทยาของสาบม่วงนั้นเบื้องต้นได้นำเมล็ดสาบม่วงมาทำการเพาะทดสอบความงอกในจานเพาะพบว่า เมื่ออายุได้ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดจะแทงรากสีขาวออกมามีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร มีใบเลี้ยงคู่แรกเมื่ออายุได้ประมาณ 7-10 วัน มีขนาดความสูงต้นอยู่ที่ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับการเพาะเมล็ดในสภาพดินปลูกพบว่า เมล็ดจะมีใบเลี้ยงคู่แรกโผล่พ้นดินเมื่ออายุได้ประมาณ 7-10 วัน และเมื่อต้นสาบม่วงเจริญได้ประมาณ 2 สัปดาห์ จะมีใบจริงคู่แรก และเริ่มมีตุ่มดอกขนาดเล็กเมื่ออายุได้ประมาณ 28-32 วัน ทั้งนี้เมล็ดสาบม่วงเป็นเมล็ดที่ต้องการแสงในการงอกซึ่งจากการทดสอบเปอร์เซ็นต์ความงอกในสภาพที่มืดและที่สว่างพบว่า เมล็ดที่เพาะทดสอบในสภาพมีแสง มีเปอร์เซ็นต์งอก (26% ) สูงกว่าเมล็ดที่เพาะในสภาพไม่มีแสงซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ความงอกเป็น 0%

          งานในปี 2555 ทำการสำรวจการระบาดของสาบม่วงในเขตภาคตะวันออก จำนวน 50 แปลง และเก็บตัวอย่างวัชพืชและเมล็ดเพื่อนำมาปลูกทดสอบและศึกษาชีววิทยาของสาบม่วงต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   2224_2554.pdf (ขนาด: 1.34 MB / ดาวน์โหลด: 3,775)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม