คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของผลมะม่วงสดนำเข้าจากสาธารณรัฐอินเดีย - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4)
+--- เรื่อง: การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของผลมะม่วงสดนำเข้าจากสาธารณรัฐอินเดีย (/showthread.php?tid=85)



การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของผลมะม่วงสดนำเข้าจากสาธารณรัฐอินเดีย - doa - 10-13-2015

การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของผลมะม่วงสดนำเข้าจากสาธารณรัฐอินเดีย
วรัญญา มาลี, วลัยกร รัตนเดชากุล, คมศร แสงจินดา และสุรพล ยินอัศวพรรณ
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ผลการศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของผลมะม่วงสดนำเข้าจากอินเดีย ตามมาตรฐานนานาชาติสำหรับมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ 2 เรื่อง กรอบสำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช และฉบับที่ 11 เรื่อง การวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชสำหรับศัตรูพืชกักกันรวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 - กันยายน 2554 พบว่า ศัตรูมะม่วงที่มีรายงานพบในสาธารณรัฐอินเดีย มีจำนวน 573 ชนิด ได้แก่ ไร 17 ชนิด แมลง 445 ชนิด เป็นแมลงในอันดับ Coleoptera, Diptera, Hemiptera, Hymenoptera, Isoptera, Lepidoptera, Orthoptera และ Thysanoptera สาหร่าย 2 ชนิด เชื้อแบคทีเรีย 6 ชนิด และเชื้อรา 104 ชนิด ศัตรูพืชที่มีโอกาสติดมากับผลมะม่วงนำเข้าและไม่มีรายงานพบในประเทศไทยมีจำนวน 14 ชนิด ได้แก่ ไร 1 ชนิด คือ Brevipalpus obovatus แมลง 8 ชนิด คือ Sternochetus mangiferae, Bactrocera caryeae, B. invadens, Abgrallaspis cyanophylli, Pulvinaria polygonata, Aspidiotus nerii, Hemiberlesia rapax, Parlatoria crypta เชื้อแบคทีเรีย 1 ชนิด คือ Xanthomonas campestris pv. mangiferaeindicae และเชื้อรา 4 ชนิด คือ Fusarium mangiferae Actinodochium jenkinsii, Hendersonia creberrima และ Nectria rigidiuscula ซึ่งจะนำไปประเมินโอกาสการเข้ามา การตั้งรกราก การแพร่กระจาย ผลทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการเข้ามาของศัตรูพืชในประเทศไทย และการจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชในปีต่อไป