คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษา ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ในการจัดทำหลักเกณฑ์และการตรวจสอบพันธุ์พืชเพื่อรองรับการคุ้มค - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4)
+--- เรื่อง: ศึกษา ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ในการจัดทำหลักเกณฑ์และการตรวจสอบพันธุ์พืชเพื่อรองรับการคุ้มค (/showthread.php?tid=244)



ศึกษา ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ในการจัดทำหลักเกณฑ์และการตรวจสอบพันธุ์พืชเพื่อรองรับการคุ้มค - doa - 11-18-2015

ศึกษา ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ในการจัดทำหลักเกณฑ์และการตรวจสอบพันธุ์พืชเพื่อรองรับการคุ้มครองพันธุ์พืช ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
จิระศักดิ์  กีรติคุณากร
สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช

          การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบพันธุ์พืชทั้งหมด 12 ชนิดพืช เพื่อรองรับการคุ้มครองพันธุ์พืชตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 พืชดังกล่าวเป็นพืชที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศกำหนดเป็นพันธุ์พืชใหม่ที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย รวม 12 ชนิดคือ ชวนชม (Adenium spp.) บอนสี (Caladium bicolor Vent.) น้อยหน่า (Annona squamosa L.) ฝรั่ง (Psidium guajava L.) ขนุน (Artocarpus heterophyllus Lamk.) มะเฟือง (Averrhoa carambola L.) กลุ่มมะปราง (Bouea spp.) กล้วย (Musa spp.) สับปะรด (Ananas comosus (L.) Merr.)  แตงเทศผิวเรียบและแตงเทศลายนูน (Cucumis melo L. cv. Cantaloupensis and Cucumis melo L. cv. Reticulatus) ยูคาลิปตัส (Eucalyptus L.) และฝ้าย (Gossypium L.) พืชที่จะขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ ต้องมีการจัดทำหลักเกณฑ์เพื่อใช้ในการตรวจสอบพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่  สำนักคุ้มครองพันธุ์พืชจำเป็นต้องเสนองานวิจัยเพื่อศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ในการจัดทำร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบพันธุ์พืชดังกล่าว โดยศึกษาจากลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และศึกษามาตรฐานการตรวจสอบพันธุ์พืชใหม่ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV) ที่กล่าวถึงมาตรฐานอย่างเป็นสากล การศึกษาขั้นต่อไปโดยนำข้อมูลทั้งสองมาสังเคราะห์เป็นร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบพันธุ์พืชทั้ง 12 ชนิด และแต่ละชนิดพืชจะมีคณะทำงานเพื่อพิจารณาร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบพันธุ์พืชแต่ละพืชที่สังเคราะห์ขึ้น ให้เกิดความสมบูรณ์ จากนั้นจึงนำร่างหลักเกณฑ์ฯ ที่ผ่านคณะทำงานในแต่ละพืชมาทดลองใช้ในแปลงปลูกพืชจริง พร้อมกับปรับเปลี่ยนร่างหลักเกณฑ์ฯ บางส่วน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติในภาคสนามได้อย่างสมบูรณ์พบว่า ได้ร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์ชวนชมที่สามารถประเมินได้ทั้งสิ้น 69 ลักษณะ และจำแนกพันธุ์ได้ถึง 35 พันธุ์ ได้ร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์บอนสีที่สามารถประเมินได้ทั้งสิ้น 49 ลักษณะ และจำแนกพันธุ์ได้ถึง 40 พันธุ์ ได้ร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์น้อยหน่าที่สามารถประเมินได้ทั้งสิ้น 58 ลักษณะ และจำแนกพันธุ์ได้ถึง 13 พันธุ์ ได้ร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์ฝรั่งที่สามารถประเมินได้ทั้งสิ้น 49 ลักษณะ และจำแนกพันธุ์ได้ถึง 7 พันธุ์ ได้ร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์ขนุนที่สามารถประเมินได้ทั้งสิ้น 52 ลักษณะ และจำแนกพันธุ์ได้ถึง 14 พันธุ์ ได้ร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์มะเฟืองที่สามารถประเมินได้ทั้งสิ้น 51 ลักษณะ และจำแนกพันธุ์ได้ถึง 14 พันธุ์ ได้ร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์กลุ่มมะปรางที่สามารถประเมินได้ทั้งสิ้น 43 ลักษณะ และจำแนกพันธุ์ได้ถึง 10 พันธุ์ ได้ร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์กล้วยที่สามารถประเมินได้ทั้งสิ้น 77 ลักษณะ และจำแนกพันธุ์ได้ถึง 80 พันธุ์ ได้ร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์สับปะรดที่สามารถประเมินได้ทั้งสิ้น 70 ลักษณะ และจำแนกพันธุ์ได้ถึง 20 พันธุ์ ได้ร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์แตงเทศผิวเรียบและแตงเทศลายนูนที่สามารถประเมินได้ทั้งสิ้น 49 ลักษณะ และจำแนกพันธุ์ได้ถึง - พันธุ์ ได้ร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์ยูคาลิปตัสที่สามารถประเมินได้ทั้งสิ้น 88 ลักษณะ และจำแนกพันธุ์ได้ถึง 13 พันธุ์ ได้ร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์ฝ้ายที่สามารถประเมินได้ทั้งสิ้น 53 ลักษณะ และจำแนกพันธุ์ได้ถึง 6 พันธุ์ จากผลการทดลองในครั้งนี้ได้ร่างหลักเกณฑ์การตรวจพันธุ์พืชของพืชทั้ง 12 ชนิดที่กล่าวไว้แล้วในข้างต้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยเสนอต่อกรมวิชาการเกษตรให้ออกเป็นประกาศกรมวิชาการเกษตร กับระเบียบกรมวิชาการเกษตร เพื่อใช้ในการตรวจสอบพันธุ์พืชใหม่ สำหรับพันธุ์พืชที่รัฐมนตรีประกาศจำนวน 12 ชนิด และมีผู้ใช้บริการหลักเกณฑ์ดังกล่าวถึง 433 คำขอ และสามารถจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ได้แล้ว 9 พันธุ์ การศึกษาในครั้งนี้จะเป็นบรรทัดฐานเพื่อให้การศึกษาในรูปแบบดังกล่าว ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงให้เกิดความรวดเร็ว สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในการรองรับเข้าสู่มาตรฐานสากลในระดับอาเซียนที่เราจะต้องดำเนินการต่อไปในอนาคต