คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
วิจัยและพัฒนาการใช้ตัวชี้วัดเพื่อเป็นฐานการจัดทำโฉนดคาร์บอน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4)
+--- เรื่อง: วิจัยและพัฒนาการใช้ตัวชี้วัดเพื่อเป็นฐานการจัดทำโฉนดคาร์บอน (/showthread.php?tid=1133)



วิจัยและพัฒนาการใช้ตัวชี้วัดเพื่อเป็นฐานการจัดทำโฉนดคาร์บอน - doa - 01-13-2016

วิจัยและพัฒนาการใช้ตัวชี้วัดเพื่อเป็นฐานการจัดทำโฉนดคาร์บอน
สมเจตน์  ประทุมมินทร์ และอารักษ์ จันทุมา

          การจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ทำได้ 2 ลักษณะคือ หนึ่ง Mitigation คือความพยายามลดสิ่งที่จะกระตุ้นและทำให้เกิด Climate change เช่นลดการปล่อยสารและก๊าซพิษเข้าสู่บรรยากาศ สอง Adaptation คือการปรับตัวเราและสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป  แนวทางแก้ไขปัญหาที่กำลังได้รับความสนใจมีอยู่สองแนวทาง คือ หนึ่งแนวทางที่อิงกับกลไกตลาด (Market base solution) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เช่นการคิดราคาหรือทำให้เกิดต้นทุน และลงโทษผู้ที่ทำให้เกิดมลภาวะ การตั้งราคาและจัดสรรปริมาณก๊าซคาร์บอนที่แต่ละประเทศ หรือแต่ละภาคธุรกิจ ที่สามารถปลดปล่อยได้จะทำให้สามารถเกิดสิทธิในการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอน ธุรกิจใดสามารถปลดปล่อยได้น้อยกว่าที่ได้รับการจัดสรร ก็สามารถขายสิทธินั้นให้กับผู้อื่นได้ แนวทางที่สอง คือการพัฒนาเทคโนโลยีความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ เพื่อให้ทันกับกระแสของโลกที่หลายประเทศได้ยอมรับในข้อตกลง Article 3.3 Kyoto Protocol ดังนั้นในประเทศไทยจึงควรมีค่าอ้างอิงได้ว่า ระบบปลูกพืชเศรษฐกิจสามารถเก็บสารคาร์บอนไว้ในผลิตผลและพื้นที่ปลูกพืชในแต่ละจังหวัด ตามอายุและ สภาพพื้นที่ ลดการปลดปล่อยสารคาร์บอนออกสู่บรรยากาศโดยไม่เข้าไปตัดไม้ทำลายป่า และมีการปลูกพืชสนับสนุนพื้นที่ป่า ข้อมูลเหล่านี้สามารถคำนวณเป็นมูลค่า (Carbon credit) ใช้เป็นข้อต่อรองในเวทีการค้าโลกที่กำลังจะมีการซื้อขายสารคาร์บอนในอนาคต และจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรจำนวนมากต่อไป จากผลการศึกษาสามารถพัฒนาแบบจำลองเพื่อคำนวณปริมาณการเก็บธาตุคาร์บอนในสวนยางตามอายุ ขนาดลำต้น และดัชนีพื้นที่เพื่อนำมาใช้จัดทำโฉนดคาร์บอนของสวนยาง ต่อไป