Search for:

กล้วยน้ำว้าพันธุ์ กวก. สุโขทัย 1

กล้วยน้ำว้าพันธุ์ กวก. สุโขทัย 1

       สถาบันวิจัยพืชสวนโดยศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ได้ทำการคัดเลือกสายต้นหรือพันธุ์กล้วยน้ำว้า จากแปลงรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมกล้วย ซึ่งรวบรวมกล้วยน้ำว้าไว้มากกว่า
 30 ตัวอย่าง และต้นกล้วยน้ำว้าที่กลายพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จำนวน 200 ตัวอย่าง ระหว่างปี 2547-2554 โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือกกล้วยน้ำว้า คือ ให้ผลผลิตสูง มีจำนวนหวีต่อเครือไม่ต่ำกว่า 7 หวี เนื้อแน่น สีเนื้อมีสีขาวนวลถึงเหลือง รสชาติหวาน คุณภาพการบริโภคดี ผู้บริโภคยอมรับสูง สามารถคัดเลือกไว้ 7 สายต้นหรือพันธุ์ นำไปปลูกเปรียบเทียบสายต้น 3 ปี (2555–2557) คัดเลือกสายต้นที่ดีเด่นไว้ 2 สายต้น และปี 2558-2560 นำไปปลูกทดสอบ 3 สถานที่ คือ ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี ที่มีสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน พบว่า กล้วยน้ำว้าสายต้น สท. 55-4 มีผลผลิตสูง และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และในปี พ.ศ. 2562 ได้สายพันธุ์ดีและนำเสนอรับรองพันธุ์กรมวิชาการเกษตร

  • น้ำหนักเครือเฉลี่ย 16.1 กิโลกรัม สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง(13.7กิโลกรัม) ร้อยละ 17
  • จำนวนหวีเฉลี่ย 9.8 หวีต่อเครือ สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง (8.9 หวี) ร้อยละ 10
  • คุณค่าทางโภชนาการต่อกล้วยน้ำว้า 100 กรัม มีวิตามิน B3 006 มิลลิกรัม สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง (0.003 มิลลิกรัม) ร้อยละ 97
  • คุณค่าทางโภชนาการต่อกล้วยน้ำว้า 100 กรัม มีโพแทสเซียม 309 มิลลิกรัม สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง (279 มิลลิกรัม)ร้อยละ 11
  • ลักษณะผลค่อนข้างกลม เนื้อมีสีครีมอ่อน เนื้อละเอียดเหนียว รสหวานไม่ปนเปรี้ยว

        สามารถปลูกได้ดีทั่วไป ในพื้นที่ที่มีการระบายน้ำดี

        ไม่มี

       พันธุ์แนะนำ รับรองเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม  2562

       ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย  สถาบันวิจัยพืชสวน