อ้อยพันธุ์ชัยนาท 1

ประวัติ เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างเอฟ 160 กับ ซีโอ 775 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทในปี 2519 ได้ผ่านการคัดเลือก การเปรียบเทียบพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี และได้ผ่านการทดสอบพันธุ์ในไร่เกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี รวม 3 แห่ง ตามแผนปรับปรุงพันธุ์อ้อย ของกรมวิชาการเกษตร เสร็จสิ้นการทดลองในปี 2526 รวมเวลา 8 ปี

ลักษณะเด่น เจริญเติบโตเร็วในระยะแรก ปล้องขนาดค่อนข้างใหญ่ ยาว

ลักษณะประจำพันธุ์  ใบมีขนาดใหญ่ ทรงใบแผ่ กลางใบโค้ง คอใบ (dewlap) มีสีเขียว รูปลาด ยาวมาก หูใบ (auricle) รูปใบหอกทั้ง 2 ข้าง ข้างหนึ่งยาว ข้างหนึ่งสั้น ปล้องยาวมาก โคนโต มีสีน้ำตาลอมเขียว ไม่มีร่องตา ตาเป็นรูปไข่ ยอดแหลม ใหญ่นูน มีวงเจริญ (growth ring) อยู่ระดับเดียวกับยอดตา ข้อโปนเด่น ออกดอกประมาณปลายเดือนตุลาคม การเก็บเกี่ยว  เหมาะเก็บในช่วงปลายฤดูหีบ ระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์ถึงเดือนเมษายน

ผลผลิตและคุณภาพ
– ผลผลิต 11-15 ตันต่อไร่ ในไร่เกษตรกรสภาพน้ำฝน
– ผลผลิต 15-18 ตันต่อไร่ ในสภาพน้ำชลประทาน
CCS มีค่า 12-13 หน่วย

ฤดูปลูกที่เหมาะสม ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มปลูกในช่วงเดือนสิงหาคมจนหมดฝน ภาคกลางควรปลูกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน

ความต้านทานโรค ในสภาพธรรมชาติต้านทานต่อโรคแส้ดำ โรคลำต้นเน่าแดง และโรคกลิ่นสับปะรด

ความต้านทานแมลง การเข้าทำลายของหนอนกออ้อยเฉลี่ย 6.5%

ข้อควรระวัง การปลูกในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงจะมีการหักล้มง่าย