หนู สัตว์ศัตรูสำคัญของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ลักษณะและการทำลาย
หนูเป็นสัตว์ฟันแทะศัตรูสำคัญชนิดหนึ่งของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำลายตั้งแต่เริ่มปลูกโดยคุ้ยดินกัดกินเมล็ดที่เพิ่งปลูกหรือเริ่มงอกใหม่ๆ เมื่อข้าวโพดอยู่ในระยะติดฝักจะกัดต้นให้ล้มเพื่อแทะกินเมล็ด หรือ ปีนต้นข้าวโพดขึ้นไปกัดกินเมล็ดตั้งแต่ฝักอ่อนจนถึงเก็บเกี่ยว
– สกุลของหนูพุก กัดโคนต้นให้ล้ม แล้วกัดกินฝัก
– สกุลหนูท้องขาว ได้แก่ หนูบ้านท้องขาว หนูนาใหญ่ หนูนาเล็ก
– สกุลหนูหริ่ง ปีนกัดแทะฝักบนต้น

ช่วงเวลาการระบาด
ระบาดรุนแรงในฤดูแล้งโดยเฉพาะพื้นที่ไม่มีพืชอาหารชนิดอื่น

การป้องกันกำจัด
– กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูก และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยของหนู
– ใช้กรงดักหรือกับดัก
– เมื่อสำรวจพบร่องรอย รูหนู ประชากรหนู และความเสียหายอย่างรุนแรงของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้ใช้วิธีป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน คือ ใช้กรงดักหรือกับดัก ร่วมกับการใช้เหยื่อพิษตามคำแนะนำ (ตารางที่ 1) และ/หรือ เหยื่อโปรโตซัวกำจัดหนูู (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 1 การใช้สารป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

สัตว์ศัตรูพืช สารป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูพืช1/ อัตราการใช้ วิธีการใช้/ข้อควรระวัง
หนูพุกใหญ่
หนูพุกเล็ก
หนูบ้านท้องขาว
หนูนาใหญ่
หนูนาเล็ก
หนูหริ่งนาหางยาว หนูหริ่งนาหางสั้น
ซิงค์ฟอสไฟด์
(80% ชนิดผง)
ใช้เป็นเหยื่อพิษ ประกอบด้วยสารซิงค์ฟอสไฟด์ผสมปลายข้าวและรำข้าว อัตราส่วน 1:77:2 โดยน้ำหนัก สารออกฤทธิ์เร็ว ใช้ลดประชากรหนูก่อนปลูก หรือเมื่อมีการระบาดรุนแรงโดยวางเหยื่อพิษเป็นจุดตามร่องรอยหนู หรือวางจุดละ 1 ช้อนชา ห่างกัน 5-10 เมตร ใช้แกลบรองพื้นและกลบเหยื่อพิษ อย่างละ 1 กำมือ เนื่องจากเป็นเหยื่อพิษที่ทำให้หนูเข็ดขยาด จึงไม่ควรใช้บ่อยครั้ง
โฟลคูมาเฟน (0.005%) เหยื่อพิษสำเร็จรูป (ชนิดขี้ผึ้ง) ก้อนละ 5 กรัม สารออกฤทธิ์ช้า ใช้ลดประชากรหนูที่เหลือหลังจากใช้สารออกฤทธิ์เร็ว โดยวางเหยื่อพิษในภาชนะตามร่องรอยหนู จุดละ 15-20 ก้อน ห่างกัน 10-20 เมตร เติมเหยื่อทุกสัปดาห์ และหยุดเติมเมื่อการกินเหยื่อน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์
โบรมาดิโอโลน (0.005%)
ไดฟิทิอาโลน (0.0025%)

1/ในวงเล็บ คือ เปอร์เซ็นต์สารออกฤทธิ์และสูตรของสารป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูพืช

ตารางที่ 2 การใช้เหยื่อโปรโตซัวกำจัดหนูชนิดสำเร็จรูป

ชนิดหนู เหยื่อโปรโตซัวก าจัดหนู อัตราการใช้ วิธีการใช้ / ข้อควรระวัง
หนพูกใหญ่ หนูพูกเล็ก หนูท้องขำว หนูนาเล็ก หนูจี้ด เป็นเหยื่อก้อนแป้งนุ่มที่มีสปอร์โรซีสต์ของปรสิต โปรโตซัว, Sarcocystis singaporensis จำนวน 200,000 ซีสต์/ก้อน เหยื่อ 25 ก้อน ต่อไร่ ทำให้หนูป่วยตายภายหลังกินเหยื่อชนิดนี้แล้ว 10-15 วัน สามารถใช้หลังจากใช้เหยื่อพิษออกฤทธิ์เร็ว 1-2 สัปดาห์ โดยวางในรูหนูที่มีขุยดินใหม่ๆ รูละ 2 ก้อน หรือวางในภาชนะใส่เหยื่อตามทางเดินหนู หรือบริเวณ ที่พบการกัดแทะข้าวโพด จุดละ 4 ก้อน แต่ละจุดห่างกัน 10-20 เมตร เดือนละ 1 ครั้ง

ห้ามวางเหยื่อโปรโตซัวในขณะฝนตกหรือในที่เปียกแฉะ เพราะก้อนจะเหม็นเปรี้ยวได้ง่าย และหนูจะไม่กินเหยื่อ

เหยื่อโปรโตซัว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและต่อสัตว์นักล่าหนูเป็นอาหารทุกชนิด และทำให้หนูพุก และหนูท้องขาวป่วยตายเท่านั้น