ข้อมูลพันธุ์พืชรับรอง พันธุ์พืชแนะนำ และสิ่งประดิษฐฺ์


ชื่อพืช ขมิ้นชัน
พันธุ์ ตรัง 1
วันที่รับรอง 27 มกราคม 2551
ประเภทการรับรอง พันธุ์แนะนำ
มาจากขมิ้นชันสายต้นT11 โดยปี พ.ศ.2541-2542 ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง นำหัวพันธุ์ขมิ้นชันสายพันธุ์ดีที่ผ่านการคัดเลือกว่าเป็นสายพันธุ์ดี จำนวน 6 สายต้นมาปลูก ปี พ.ศ. 2543-2547 ได้มีการรวบรวมเพิ่มอีก 5 สายต้น ปี พ.ศ.2545 -2547 ศึกษาและเปรียบเทียบการเจริญเติบโต การให้สารสำคัญของขมิ้นชัน ปี พ.ศ.2547-2549 ได้ปลูกทดสอบลงในแปลงเปรียบเทียบกับพันธุ์พื้นเมือง ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง ศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบุรี และศูนย์วิจัยพืชสวนแพร่ โดยมีหลักเกณฑ์การคัดเลือกว่าต้องมีสารสำคัญเคอร์คูมินอยด์สูงกว่า 8 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำมันหอมระเหยสูงกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 2 ตันต่อไร่ ซึ่งขมิ้นชันตรัง 1 ผ่านหลักเกณฑ์การคัดเลือก คือ ให้สารสำคัญเคอร์คูมินอยด์เฉลี่ย 10.62 เปอร์เซ็นต์ น้ำมันหอมระเหยเฉลี่ย 7.99 เปอร์เซ็นต์ เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองส้ม สรุปทำการคัดเลือกและประเมินพันธุ์ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ตั้งแต่ปี 2541-2550 รวมระยะเวลาการวิจัย 10 ปี
มีลำต้นอยู่ใต้ดินและมีแขนงออกไปเป็นแง่ง ขนาดหัวแม่ 3.9x5.4 เซนติเมตร น้ำหนัก 29.58 กรัม ขนาดแง่ง 2.06x8.57 เซนติเมตร น้ำหนัก 16.50 กรัม สีเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม ลำต้นสูง 0.55-1.0 เมตร เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 8-11 เดือน ให้น้ำหนักสดเฉลี่ย 2.23 ตันต่อไร่ จัดเป็นพืชที่มีศักยภาพทางการตลาด ทั้งการบริโภคสดโดยเฉพาะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อใช้เป็นยาสมุนไพร อาหารเสริม เครื่องสำอางและอาหารสัตว์
มีสารสำคัญเคอร์คูมินอยด์เฉลี่ย 10.62 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่ามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (5เปอร์เซ็นต์) 112.4 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่ามาตรฐานการซื้อขาย (8 เปอร์เซ็นต์) 32.75 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำมันหอมระเหยเฉลี่ย 7.99 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่ามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (6 เปอร์เซ็นต์) 33.17 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่ามาตรฐานการซื้อขาย (7 เปอร์เซ็นต์) 14.14 เปอร์เซ็นต์ มี ar-turmerone 47.90 เปอร์เซ็นต์ อายุเก็บเกี่ยว 11 เดือน มีเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม โดยใช้แผ่นเทียบสีของ The Royal Horticulture Society (RHS) ให้ผลผลิตหัวสดในภาคใต้ประมาณ 2.23 ตันต่อไร่
ปลูกได้ทั่วไปในดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำได้ดี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 81 เปอร์เซ็นต์ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,800-2,000 มิลลิเมตรต่อปี
ไม่ควรใช้หัวพันธุ์ที่มาจากแหล่งที่เป็นโรคโคนเน่า