ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ 270 หมู่6 ต.โป่งน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ (ฝาง) เป็นแหล่งศึกษางานวิจัยและงานทดสอบเทคโนโลยีการเกษตร รวบรวมและปรับปรุงพันธุ์พืช เช่น มันฝรั่ง ชาจีน ชาอัสสัม กาแฟอาราบิก้า ส้มสายน้ำผึ้ง อินทผลัม และพืชผัก และแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางการเกษตรโครงการศูนย์เรียนรู้การผลิตพืชตามแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ ได้แก่ ด้านพืช มีการปลูกพืชตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยมีการแบ่งพื้นที่ เป็น 4 ส่วน ส่วนที่ 1 สระน้ำ ส่วนที่ 2 นาข้าว ส่วนที่ 3 ไม้ผลพืชผักสวนครัว และส่วนที่ 4 ที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงสัตว์ ด้านปศุสัตว์ เช่น การเลี้ยงไก่ดำภูพาน หมูดำภูพาน กระต่ายดำภูพาน ด้านประมง มีการเลี้ยงปลา เลี้ยงกบบลูฟล๊อก เป็ดบาบารี  นอกจากนี้ยังมีโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อน มีบริการบ้านพักและห้องประชุมสำหรับจัดอบรมสัมมนาให้แก่ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ  ชมทัศนียภาพความงามของขุนเขาที่โอบล้อมโครงการ

       เริ่มก่อตั้งปี พ.ศ.2484 โดยหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ปลัดกระทรวงเกษตร พระช่วงเกษตรศิลปะการ อธิบดีกรมเกษตรและหม่อมเจ้าลักษณากร เกษมสันต์ หัวหน้ากองพืชพรรณในสมัยนั้นได้ขึ้นมาตรวจราชการอำเภอฝาง จึงได้สั่งให้ นายกสินธ์  สุวพันธ์ เปิดพื้นที่ดงหลักหมื่นในเขต อ.แม่อาย เพื่อเป็นสถานีทดลองการเกษตร แต่พื้นที่ดังกล่าวขาดแคลนน้ำ จึงได้บุกเบิกป่าแปลงที่ 2 ต.โป่งน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ติดกับอุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปกในปัจจุบัน จัดตั้งเป็นกิ่งสถานีเกษตรสาชาสวนชา โดยมีหม่อมเจ้าลักษณากร เป็นหัวหน้าสถานีคนแรกและปีพ.ศ. 2497 เปลี่ยนชื่อ เป็นสถานีกสิกรรมฝาง ปี พ.ศ.2547 เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเชียงใหม่ และในปี 2552 เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่
       ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเชียงใหม่จัดโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร และศึกษาหาความรู้ด้านการเกษตรแก่บุคคลที่สนใจเพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายรัฐบาลด้านการส่งเสริม การท่องเที่ยวในเมืองไทย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและสร้างรายได้ให้กับชุมชน

  • เส้นทางที่1 จาก จ.เชียงใหม่เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 107 ระยะทาง 165 กม.ผ่าน อ.แม่ริม อ.แม่แตง อ.เชียงดาวและ อ.ไชยปราการ ก่อนถึง อ.ฝาง 3 กม.ให้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางเลี่ยงเมืองไป อ.แม่อาย เลี้ยวไปประมาณ 4 กม.ถึงทางสี่แยกให้เลี้ยวซ้าย จากนั้นอีกประมาณ 100 ม. ให้เลี้ยวขวา ตรงไปอีกประมาณ 5 กม. ผ่านหมู่บ้านเป็นทางลาดยางตลอดเส้นทาง
  • เส้นทางที่2 จาก จ.เชียงราย ระยะทาง 135 กม.ทางไป อ.แม่จัน เลี้ยวซ้ายก่อนเข้า อ.แม่จัน เข้ามาทาง ต.ท่าตอน อ.แม่อาย ก่อนเข้าตัวเมือง อ.ฝาง เลี้ยวขวาออกทางเลี่ยงเมืองไปอีกประมาณ 8 กม. ให้เลี้ยวขวา ประมาณ 100 ม. เลี้ยวขวาอีกครั้งและตรงไปอีกประมาณ 5 กม.เป็นทางลาดยางตลอดเส้นทาง
    รถโดยสารประจำทาง : เดินทางจากสถานีขนส่งช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ด้วยรถบัสโดยสารประจำทาง เชียงใหม่-ฝาง-ท่าตอน รถออกเที่ยวแรก 05.00-19.30 น. (รถออกทุกครึ่งชั่วโมง)
    รถตู้ประจำทาง : เดินทางจากสถานีขนส่งช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ด้วยรถบัสโดยสารประจำทาง เชียงใหม่-ฝาง-ท่าตอน รถออกเที่ยวแรก 07.30-18.00 น.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่
ที่อยู่:  270 หมู่6 ต.โป่งน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 50110
โทรศัพท์ 053-451441-2         
โทรสาร 053-451443
E-mail : chm3@doa.in.th

ปฏิทินท่องเที่ยวประจำปี

มกราคมสัมผัสอากาศหนาว  เดินชมแปลงเกษตรทฤษฏีใหม่ฯ
กุมภาพันธ์ – มีนาคมชมแปลงมันฝรั่ง
เมษายนเก็บผลผลิตชาจีน/ปัจจขันธ์
พฤษภาค – มิถุนายนชมแปลงลิ้นจี่ เริ่มเก็บผลผลิต
กรกฎาคมชมแปลงหมากเม่า เริ่มเก็บผลผลิต
สิงหาคมชมแปลงอินทผลัม เริ่มเก็บผลผลิต
กันยายนชมแปลงมะคาเดเมีย เก็บผลผลิตมะคาเดเมีย/กาแฟ
ตุลาคมชมแปลงฝรั่งปลอดสาร เก็บผลผลิตฝรั่งกิมจู
พฤศจิกายนชมแปลงพืชผักเมืองหนาว /สัปปะรด
ธันวาคมชมแปลงพืชผักเมืองหนาว/สตรอเบอรี่

ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก งานบริการ ห้องพัก


ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก งานบริการ ห้องพัก

บ้านหางนกยูง

เหมาจ่าย
1,800
บาท/หลัง/คืน

(มีอ่างแช่น้ำแร่)

จำนวน 4 ห้อง พักได้ 14 คน
  • คนห้องที่ 1 (ล่าง) มีเตียงเดี่ยว 2 เตียง 
  • ห้องที่ 2 (ล่าง) มีเตียงเดี่ยว 2 เตียง
  • ห้องที่ 3 (บน) มีเตียงคู่ 1 เตียง
  • ห้องที่ 4 (บน) มีเตียงเดี่ยว  3 เตียง เตียงคู่ 1 เตียง
  • ห้องที่ (บน) 5 มีเตียงเดี่ยว 3 เตียง

บ้านพุทรา

เหมาจ่าย
1,200 บาท
หลัง/คืน

จำนวน 4 ห้อง พักได้ 10 คน
  • ห้องที่ 1 (บน) มีเตียงเดี่ยว 2 เตียง 
  • ห้องที่ 2 (บน)  เตียงเดี่ยว 2 เตียง
  • ห้องที่ 3 (บน)  มีเตียงเดี่ยว 3 เตียง
  • ห้องที่ 4 (ล่าง) มีเตียงเดี่ยว 3 เตียง
  • ห้องโถง มีเตียงเดี่ยว 1 เตียง 

บ้านเป็นต่อ

เหมาจ่าย
2,500 บาท
หลัง/คืน

(มีห้องแช่น้ำแร่ส่วนตัว)

จำนวน 3 ห้อง พักได้ 8 คน
  • ห้องที่ 1 มีเตียงคู่ 1 เตียง
  • ห้องที่ 2 มีเตียงคู่ 1 เตียง
  • ห้องที่ 3 มีเตียงเดี่ยว 4 เตียง

บ้านอินทนิล

เหมาจ่าย
1,500 บาท
หลัง/คืน

(มีอ่างแช่น้ำแร่)

จำนวน 4 ห้อง พักได้ 11 คน
  • ห้องที่ 1 มีเตียงเดี่ยว 3 เตียง
  • ห้องที่ 2 มีเตียงเดี่ยว 2 เตียง
  • ห้องที่ 3 มีเตียงเดี่ยว 3 เตียง
  • ห้องโถง  3 เตียง

เหมาจ่าย
1,200 บาท
หลัง/คืน

(มีอ่างแช่น้ำแร่)

จำนวน 3 ห้อง พักได้ 14 คน
  • ห้องที่ 1 มีเตียงเดี่ยว 4 เตียง 
  • ห้องที่ 2 มีเตียงเดี่ยว 2 เตียง
  • ห้องที่ 3 มีเตียงเดี่ยว 2 เตียง
  • ห้องโถง 6 เตียง

บ้านลิ้นจี่

เหมาจ่าย
1,200 บาท
หลัง/คืน

(มีอ่างแช่น้ำแร่)

จำนวน 3 ห้อง พักได้ 10 คน
  • ห้องที่ 1 มีเตียงเดี่ยว 2 เตียง
  • ห้องที่ 2 มีเตียงเดี่ยว 2 เตียง
  • ห้องที่ 3 มีเตียงเดี่ยว 2 เตียง
  • ห้องโถง มีเตียงเดี่ยว 4 เตียง

บ้านต้นกล้วย

เหมาจ่าย
1,200 บาท
หลัง/คืน

(มีอ่างแช่น้ำแร่)

จำนวน 3 ห้อง พักได้ 12 คน
  • ห้องที่ 1 มีเตียงเดี่ยว 3 เตียง
  • ห้องที่ 2 มีเตียงเดี่ยว 3 เตียง
  • ห้องที่ 3 มีเตียงเดี่ยว 3 เตียง
  • ห้องโถง มีเตียงเดี่ยว 3 เตียง

บ้านจามจุรี

เหมาจ่าย
600 บาท
ห้อง/คืน

(มีอ่างแช่น้ำแร่)

จำนวน 5 ห้อง พักได้ 30 คน
  • ห้องละ 4 เตียง
  • ชั้นบน 2 เตียงเดี่ยว
  • ชั้นล่าง 2 เตียงเดี่ยว

เรือนแถว

ห้องประชุมสโมสรต่อน้ำใจ 

เหมาจ่าย 1,000 บาท/วัน

(พัดลม เครื่องปรับอากาศ)

  • รองรับผู้เข้าประชุมได้ 12 ท่าน

ห้องประชุมใหญ่

เหมาจ่าย 2,000 บาท/วัน

(พัดลม เครื่องปรับอากาศ)

  • รองรับผู้เข้าประชุมได้ 50-100 ท่าน

ลานกางเต็นท์

สามารถโทรจองที่พักได้ที่  เบอร์โทรศัพท์ : 053-451441-3 ต่อ 116

สิ่งอำนวยความสะดวก

  • ให้บริการ บ้านพัก พร้อมบ่ออาบน้ำแร่
  • ให้บริการจัดประชุม/จัดเลี้ยง
  • ให้บริการจัดกิจกรรม/จัดฝึกอบรม
  • จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของศูนย์วิจัยฯ

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง

  • อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก (โป่งน้ำร้อนฝาง)
  • อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก (สาขาน้ำรู)
  • โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนา ต.โป่งน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
  • ถ้ำห้วยบอน
  • ฮิโนกิแลนด์
  • สวนส้มธนาธร
  • สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
  • เขื่อนบ้านลาน
  • พลังงานน้ำใต้พิภพ
  • โครงการร้อยใจรักษ์

‎แก้ไขข้อมูลล่าสุด: พฤศจิกายน 2566