หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจประเมินรับรองฟาร์ม GAP

หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจประเมินรับรองฟาร์ม GAP

ข้อกำหนด หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจประเมินที่ใช้ในการตรวจรับรองฟาร์ม GAP ทั้ง 3 ระดับ ประกอบด้วยข้อมูลดังนี้

ลำดับข้อกำหนด เกณฑ์ที่กำหนด วิธีการตรวจประเมิน
1. แหล่งน้ำ – น้ำที่ใช้ต้องได้จากแหล่งที่ไม่มีสภาพแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุอันตรายจุลินทรีย์ – ตรวจพินิจสภาพแวดล้อมหากอยู่ในสภาพวะเสี่ยงให้ตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

 

2. พื้นที่ปลูก – ต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่มีวัตถุอันตรายและจุลินทรีย์ที่จะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อนในผลิตผล – ตรวจพินิจสภาพแวดล้อม หากอยู่ในสภาวะเสี่ยงให้ตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพดิน

 

3. การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร – หากมีการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตให้ใช้ตามคำแนะนำหรืออ้างอิงคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร หรือตามฉลากที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

– ต้องใช้สารเคมีให้สอดคล้องกับรายการ

– ห้ามใช้วัตถุอันตรายที่ระบุในทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ห้ามใช้

 

– ตรวจสอบสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายทางการเกษตร

– สารเคมีที่ประเทศคู่ค้าอนุญาตให้ใช้ตรวจบันทึกข้อมูลการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร และสุ่มตัวอย่างวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผลิตผลกรณีมีข้อสงสัย

4. การเก็บรักษาและขนย้ายผลิตผลภายในแปลง – สถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดีและสามารถป้องกันการปนเปื้อนของวัตถุแปลกปลอม วัตถุอันตรายและสัตว์พาหะนำโรค

– อุปกรณ์และพาหะในการขนย้ายต้องสะอาดปราศจากการปนเปื้อนสิ่งอันตรายมีผลต่อความปลอดภัยในการบริโภค

– ต้องขนย้ายผลิตผลอย่างระมัดระวัง

 

– ตรวจพินิจสถานที่ อุปกรณ์ ภาชนะ บรรจุขั้นตอนและวิธีการขนย้ายผลิตผล
5. การบันทึกข้อมูล – ต้องมีการบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร

– ต้องมีการบันทึกข้อมูลการสำรวจและการป้องกันกำจัดศัตรูพืช

– ต้องมีการบันทึกข้อมูลการจัดการเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพ

 

– ตรวจบันทึกข้อมูลของเกษตรกรตามแบบบันทึกข้อมูล
6. การผลิตให้ปลอดภัยจากศัตรูพืช – ผลิตผลที่เก็บเกี่ยวแล้ว ต้องไม่มีศัตรูพืชติดอยู่ถ้าพบต้องคัดแยกไว้ต่างหาก – ตรวจสอบบันทึกข้อมูลการสำรวจศัตรูและการป้องกันกำจัด

– ตรวจพินิจผลการคัดแยก

7. การจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพ – การปฏิบัติและการจัดการตามแผนควบคุมการผลิต

– คัดแยกผลิตผลด้อยคุณภาพไว้ต่างหาก

– ตรวจสอบบันทึกข้อมูลการปฏิบัติและการจัดการเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพ

– ตรวจพินิจผลการคัดแยก

8. การเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติหลักการเก็บเกี่ยว – เก็บเกี่ยวผลในระยะที่เหมาะสมตามเกณฑ์ในแผนควบคุมการผลิต

– อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว ภาชนะบรรจุและวิธีการเก็บเกี่ยวต้องสะอาดไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อคุณภาพของผลผลิต และปนเปื้อนสิ่งอันตรายที่มีผลต่อความปลอดภัยในการบริโภค

– ตรวจสอบบันทึกการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

– ตรวจพินิจอุปกรณ์ ภาชนะบรรจุขั้นตอนและวิธีการเก็บเกี่ยว

หมายเหตุ

ข้อกำหนดในข้อ 1 – 5 สำหรับกระบวนการผลิตที่ได้ผลิตผลปลอดภัย

ข้อกำหนดในข้อ 1 – 6 สำหรับกระบวนการผลิตที่ได้ผลิตผลปลอดภัยและปลอดจากศัตรูพืช

ข้อกำหนดในข้อ 1 – 8 สำหรับกระบวนการผลิตที่ได้ผลิตผลปลอดภัย ปลอดจากศัตรูพืชและคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค